Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               31







                               4) แนวทางการจัดการ
                                 (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรฌการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้
                       ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการ

                       ที่ส าคัญต่างๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราใน
                       ที่ดินที่ไม่มีข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่ส าคัญ

                       ของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอ าเภอนายูง และอ าเภอวังสามหมอ
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพารา
                       ในที่ดินที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ า โดยกระจายอยู่ในอ าเภออน้ าโสม อ าเภอบ้านผือ และอ าเภอวังสาม

                       หมอ เป็นต้น
                                 (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน
                       ให้เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา
                       มีต้นทุนที่ต่ า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด


                         3.1 มะม่วงพันธุ์น้ าดอกไม้สีทอง มะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่น
                            3.1.1 มะม่วงพันธุ์น้ าดอกไม้สีทอง
                                 1) ลักษณะทั่วไป
                                  มะม่วงพันธุ์น้ าดอกไม้สีทอง ถือเป็นมะม่วงสายพันธุ์ยอดนิยมที่เน้นปลูกเพื่อการ

                       ส่งออก มีลักษณะที่แตกต่างจากมะม่วงน้ าดอกไม้พันธุ์เดิม ออกดอกดก แต่ติดผลปานกลาง ใช้เวลา
                       ตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งผลแก่ประมาณ 110-115 วัน ล าต้น ผลอ่อนผิวสีเขียวนวล มีรสเปรี้ยว
                       จุดเด่น คือผลมีสีเหลืองสวย ถ้าได้รับการห่อผล เมื่อผลสุกมีสีเหลืองนวล เนื้อสีเหลืองละเอียด กลิ่น

                       หอม รสหวาน เมล็ดลีบ น้ าหนักโดยเฉลี่ย 280-300 กรัม มีรสหวานมากกว่าน้ าดอกไม้เบอร์ 4 มี
                       ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ าได้ (ความหวาน) ประมาณ 17-18 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคแอนแทรค
                       โนสมากกว่าพันธุ์น้ าดอกไม้เบอร์เป็นหนึ่งในมะม่วงยอดนิยมตลอดกาลของคนไทยและชาวต่างชาติ
                                 2) สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกมะม่วงน้ าดอกไม้สีทอง
                                  สภาพพื้นที่ดอนไม่มีน้ าท่วมขัง ลักษณะดินร่วนหรือร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์

                       ปานกลางถึงสูง มีปริมาณอินทรียวัตถุไม่ต่ ากว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการ
                       เจริญเติบโตประมาณ 24-34 องศาเซลเซียส มีแหล่งน้ าหรือปริมาณน้ าฝนพอเพียงต่อการเจริญเติบโต
                       ของต้นมะม่วง การปลูกควรปรับพื้นที่ให้ราบหรือค่อนข้างราบหากสามารถด าเนินการได้ และควรมี

                       การระบายน้ าที่ดี การเตรียมดินควรมีการไถดินด้วยไถพาล 3 จ านวน 2 ครั้ง พรวนด้วยไถพาล 7
                       จ านวน 1-2 ครั้ง และควรตากดินทิ้งไว้ 7-14 วัน แล้วคราดเก็บเศษวัชพืชออก ถ้าสภาพพื้นที่เป็นเนินเขา
                       ควรปลูกตามแนวระดับของพื้นที่เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ในกรณีพื้นที่ลุ่มควรยกร่อง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43