Page 40 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               33







                                  ลักษณะดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วมปนทราย มีการระบายน้ าได้ดีมีความเป็นกรด
                       ปานกลางถึงด่างเล็กน้อย ค่า pH ประมาณ 5.5-7.5 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมะม่วงมีความสามารถในการ
                       เจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ดีในสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่ค่อนข้างจะกว้าง
                                  สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 20-34 องศาเซลเซียส

                       ต้องการช่วงแล้งก่อนการออกดอกประมาณ 2 เดือน และอุณหภูมิต่ าประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส
                       ต่อเนื่องกันประมาณ 2 สัปดาห์ปริมาณน้ าฝนที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 700-1,500 มิลลิเมตรต่อปี
                       และการตกของฝนกระจายตัว สม่ าเสมอในฤดูฝน
                                 3) การลงทุนและผลผลิตของมะม่วงฟ้าลั่น

                                  ปริมาณผลผลิตต่อไร่ หากปริมาณน้ าฝนอยู่ในเกณฑ์ดี จะได้มะม่วงมากถึง 800-
                       1,000 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าได้รับผลกระทบแล้ง จ านวนมะม่วงจะเหลือเพียง 500-800 กิโลกรัมต่อไร่
                         3.2 กล้วยหอมทอง
                            1) ลักษณะทั่วไป

                              กล้วยหอมทองจัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีล าต้นเทียม มีความสูงต้นประมาณ 2.5-3.5 เมตร
                       เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบล าต้นด้านนอกมีประด า กาบล าต้นด้านในมีสีเขียวอ่อน
                       และมีเส้นลายสีชมพู ซึ่งเป็นความแตกต่างของการสังเกตว่าเป็นกล้วยหอมประเภทใด ใบ ก้านใบ

                       มีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบมีสีเขียว ดอกของกล้วยหอมทอง ที่ก้านเครือจะมีลักษณะ
                       คล้ายขน มีปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนมีสีแดงอมม่วง ด้านในมีสีแดงซีด ผลกล้วยหอมทอง
                       ในเครือหนึ่งๆ จะมี 4-6 หวี หวีหนึ่งมี 12-16 ผล ผลมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 21-25 เซนติเมตร
                       ปลายผลมีจุก เห็นได้ชัดเปลือกผลบาง ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว
                       แล้วเปลี่ยนสีในภายหลัง เนื้อผลมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม และมีรสหวาน

                            2) สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมทอง
                              ลักษณะดิน ดินร่วน มีอินทรียฺวัตถุสูงมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ที่น้ าไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ า
                       ได้ดีมีแหล่งน้ าเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง 4.5-7.5 เป็นพื้นที่ที่ไม่มี

                       ลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม
                              สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส
                       ไม่ควรต่ ากว่า 15 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
                              มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 ปี แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมปลูกกันมาก ในช่วงต้น

                       เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน เพราะกล้วยหอมทองจะสุกแก่ในช่วงเดียวกันกับเดือนที่ปลูก
                       การปลูกในช่วงนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องต้นกล้วยหัก (เพราะหนักเครือและลม แรง) ทั้งยังไม่มีปัญหา
                       เรื่องหน่อที่จะใช้ในการปลูกอีกด้วย เพราะเป็นช่วงที่ตัดเครือกล้วยแล้ว การขุดหน่อใหม่จากต้นแม่
                       ไปปลูกจึงไม่กระทบกระเทือนเหมือนกับการขุดหน่อในช่วงอื่น ถ้าจะปลูกกล้วยหอมทองในเดือน

                       มกราคมถึงเดือนเมษายน จะมีผลต่อราคาที่อาจขายได้ไม่ค่อยดีนัก กล้วยหอมจะมีราคาต่ า เนื่องจาก
                       ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีผลไม้ชนิดอื่นออกมาสู่ตลาดกันมาก นอกจากนี้ต้นกล้วยหอมยังหักล้มได้ง่ายเพราะ
                       มีลมแรง กล้วยจะหักพันคอก่อนเครือจะสุกแก่เต็มที่ ก่อนการปลูกกล้วยหอมทองจ าต้องมีการวาง
                       แผนการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเลี่ยงหลีกปัญหาที่อาจท าให้เกิดภาวะขาดทุนได้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45