Page 45 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               38







                         4.2 อ้อยโรงงาน
                            1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 36,948 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอบ้านผือ อ าเภอบ้านดุง และอ าเภอหนองหาน ตามล าดับ

                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิต
                       อ้อยโรงงานคุณภาพดีที่ส าคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์อ้อยโรงงานคุณภาพดี

                       และต้านทานโรค โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาต่อยอดครบวงจร
                       การตลาดในและต่างประเทศพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน

                       การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท ามาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ GAP และ
                       เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง

                            2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 1,150,719 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตบ้านผือ อ าเภอกุมภวาปี และอ าเภอวังสามหมอ เกษตรกร
                       ยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ าในบางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุน

                       ด้านการพัฒนาในด้านคุณภาพของที่ดินและระบบชลประทานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร
                       ในการใช้ที่ดินท าให้ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปท างานที่อื่นจะลดลง ส่งเสริมการปรับปรุงบ ารุงดินในไร่

                       อ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต
                             3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ าซาก เช่น น้ าท่วม ขาดน้ า ผลผลิตต่ า
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ

                       โครงสร้างที่ดินสนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมให้
                       ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้าน
                       การตลาดของพืชชนิดใหม่

                            4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้

                       ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปรับปรุงบ ารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรมและสร้างแรงจูงใจให้กลับมา
                       ปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ท าให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ าและผลผลิต
                       มีคุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         4.3 มันส าปะหลัง
                            1) พื้นที่ปลูกมันส าปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันส าปะหลังอยู่

                       มีเนื้อที่ 52,984 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอวังสามหมอ อ าเภอโนนสะอาด และอ าเภอน้ าโสม
                       ตามล าดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวน

                       ให้เป็นแหล่งผลิตมันส าปะหลังคุณภาพดีที่ส าคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย ท่อนพันธุ์
                       คุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อเน้นการลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมให้เกษตรกร

                       เป็น Smart Farmer พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ ส่งเสริมการแปรรูป
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50