Page 47 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               40







                            3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
                       ใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ าซาก เช่น น้ าท่วม ขาดน้ า ผลผลิตต่ า
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ

                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ า ส่งเสริมให้มีการโคนยางพาราที่มีอายุมากและสนับสนุนให้
                       เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิต

                       อาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่
                            4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้

                       ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว และปาล์มน้ ามัน เป็นต้น ในส่วนนี้
                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืช

                       ที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ า แต่ในอนาคตถ้าราคาดี
                       และตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูกยางพาราในพื้นที่
                       ดังกล่าว
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52