Page 39 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               32







                       ในแนว เหนือ-ใต้ ให้มีสันร่องกว้าง 6-8 เมตร (ควรยกให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ าที่เคยท่วมสูงสุด
                       0.5-1.0 เมตร)
                                ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้สีทองส่งออกอันดับ 1 ของ
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกจ านวนมาก มีระบบการปลูกที่ปลอดภัยและได้

                       มาตรฐาน ส่งผลให้มะม่วงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น
                       เกาหลี จีน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และกัมพูชา คาดการณ์ปี 2564 ส่งออกผลผลิต
                       ประมาณ 1,800 ตันต่อปี จึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่ต้องเร่งการขยายตลาดส่งออกให้เพิ่ม
                       มากขึ้น

                                 3) การลงทุนและผลผลิตของมะม่วงน้ าดอกไม้สีทอง
                                  จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้สีทอง จังหวัดอุดรธานี พบว่า
                       มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ าดอกไม้สีทองประมาณ 6,300 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 6,000 ตันต่อปี ผลผลิตเฉลี่ย
                       900-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ แหล่งผลิตส าคัญอยู่ในอ าเภอหนองวัวซอ และกระจายอยู่ในอ าเภอน้ าโสม

                       วังสามหมอ กุมภวาปี ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูก 658 ราย ส่วนใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบ
                       แปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ 30-60 บาทต่อต้น เกษตรกรส่วนใหญ่
                       นิยมปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ราคาสูง ซึ่งจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

                       (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 เริ่มท านอกฤดูในปีที่ 4 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25 ปี) เกษตรกรจะ
                       ท าการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 3 รอบ คือ รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม รอบที่ 2 เดือนมกราคม -
                       กุมภาพันธ์ และรอบที่ 3 ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ท าให้มะม่วงน้ าดอกไม้สีทองจังหวัดอุดรธานี
                       มีผลผลิตจ าหน่ายตลอดทั้งปี ซึ่งหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เจ้าหน้าที่ของบริษัทส่งออก
                       จะมารับผลผลิตถึงแหล่งผลิต โดยจะท าการคัดเกรดมะม่วงส าหรับส่งออกตลาดต่างประเทศและใน

                       ประเทศ หลังจากคัดเกรดผลผลิตแล้วจะน าเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อตามมาตรฐาน
                       การส่งออก
                           3.1.2 มะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่น

                                 1) ลักษณะทั่วไป
                                  เป็นทรงพุ่มค่อนข้างทึบ ใบยาวคล้ายใบมะม่วงพันธุ์สายฝน ออกผลค่อนข้างดก
                       ลักษณะผลจะกลมมากกว่ามะม่วงพันธุ์สายฝน แต่มีความยาวพอๆกัน ปลายผลกลมมนเมื่อผลแก่จัด
                       เนื้อจะเปาะบางมากและอาจจะแตกทันทีเมื่อถูกคมมีดซึ่งเป็นลักษณะประจ าพันธุ์เห็นได้ชัดลักษณะ

                       เปลือกจะหนา แต่ไม่เหนียว มีต่อมขนาดปานกลางเห็นได้ชัด และกระจายอยู่ทั่วผลผิวเปลือก
                       เป็นสีเขียวเข้ม เนื้อขาวนวล ลักษณะผิวหยาบ กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสชาติมันตั้งแต่ผลเล็กๆ
                       เมื่อแก่จัดรสชาติจะหวานมันผลสุกผิวเขียวปนเหลือง เนื้อเป็นสีเหลืองเนื้อค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนน้อย
                       รสหวานไม่จัดนัก เมล็ดเมื่อเพาะจะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว รูปร่างของเมล็ดยาว แบนมี

                       เนื้อในเมล็ดไม่เต็ม
                                 2) สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกมะม่วงฟ้าลั่น
                                  ควรเป็นพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ าทะเล 10-300 เมตร ปลูกได้ทั้งพื้นที่ดอนและที่
                       ลุ่ม ไม่ท่วมขัง พื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ มีการคมนาคมและการขนส่งสะดวก
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44