Page 13 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
2.1 ยางพารา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลย จากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง
มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 1 - 2)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 3,096 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอวังสะพุง 1,305 ไร่ อำเภอปากชม 943 ไร่ และอำเภอนาด้วง
658 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,147,633 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
41.72 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอวังสะพุง 297,228 ไร่ อำเภอเมืองเลย 252,727 ไร่
และอำเภอเชียงคาน 148,268 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 870,677 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
31.63 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอผาขาว 130,909 ไร่ อำเภอเมืองเลย 122,541 ไร่
และอำเภอด่านซ้าย 103,951 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 730,627 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 298 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.63 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
พบมากในอำเภอวังสะพุง 158 ไร่ อำเภอปากชม 61 ไร่ และอำเภอนาด้วง 46 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 292,409 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.48 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอเมืองเลย 77,680 ไร่ อำเภอวังสะพุง 75,988 ไร่ และอำเภอเชียงคาน
32,617 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 168,671 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.37 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอำเภอเมืองเลย 40,381 ไร่ อำเภอวังสะพุง 32,290 ไร่ และอำเภอนาด้วง
19,269 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 68,920 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
ยางพารา พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพารา
ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดเลยมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 858,023 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุก
อำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอวังสะพุง 222,387 ไร่ รองลงมา
ได้แก่ อำเภอเมืองเลย 175,180 ไร่ อำเภอเชียงคาน 115,651 ไร่ และอำเภอเอราวัณ 109,979 ไร่
โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 2,798 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 90.37 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอวังสะพุง 1,147 ไร่ อำเภอปากชม 881 ไร่ อำเภอนาด้วง 611 ไร่ และ
อำเภอเมืองเลย 133 ไร่