Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
(1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อหยาบหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น
หินทรายและหินควอร์ตไซต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ
ถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดง จนถึงแดง การระบายน้ำดี
พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินท่ายาง (Ty)
(2) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทราย
ปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีถึงมาก
เกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินด่านซ้าย (Ds) ชุดดินโพนงาม (Png)
ชุดดินภูพาน (Pu) ชุดดินวังน้ำเขียว (Wk) เป็นต้น
(3) พัฒนาจากหินทรายแป้ง ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็น
ดินร่วนละเอียดถึงดินเหนียวละเอียด สีแดง น้ำตาล น้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษหินปะปน
ในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินวังไห่ (Wi) ชุดดินภูเรือ (Pur) เป็นต้น
(4) พัฒนาจากหินดินดาน การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง
น้ำตาลปนแดง เหลือง หรือแดง เป็นดินเหนียว ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง เช่น
ชุดดินวังสะพุง (Ws) ชุดดินกลางดง (Kld) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) ชุดดินลี้ (Li) เป็นต้น
(5) พัฒนาจากหินปูน ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียว
ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษหิน
ปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินดงลาน (Dl) ชุดดินทับกวาง (Tw) เป็นต้น
(6) พัฒนาจากหินภูเขาไฟ/บะซอลต์ การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีดำ น้ำตาล
น้ำตาลปนแดงถึงแดง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง เช่น ชุดดินบ้านจ้อง (Bg)
ชุดดินเชียงของ (Cg) ชุดดินโชคชัย (Ci) ชุดดินแก่งคอย (Kak) ชุดดินครบุรี (Kbr) ชุดดินสุรินทร์ (Su)
เป็นต้น
(7) พัฒนาจากกลุ่มหินอัคนีหรือหินในกลุ่ม ดินตื้นถึงชั้นเศษหิน เนื้อดินเป็นดินร่วน
ปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนแดง ดินมีการระบายน้ำดี อาทิ
ชุดดินท่าลี่ (Tl)
(8) พัฒนาจากหินแกรนิต ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีดำ น้ำตาล น้ำตาลปนเทา
และน้ำตาลปนแดง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง เช่น ชุดดินจันทึก (Cu)
ชุดดินเลย (Lo) ชุดดินภูสะนา (Ps) เป็นต้น
5) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ส่วนใหญ่เป็นภูเขา
และเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทรัพยากรดินมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดเลย ในภาพที่ 1 - 5
1.5 สภาพการใช้ที่ดิน
สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดเลย จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินของ
กรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)