Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1. ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดเลย มีพื้นที่ 11,424.612 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,382 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย ประกอบด้วย 14 อำเภอ 90 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีประชากร 638,736 คน
(กรมการปกครอง, 2563)
1.1 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก ติดต่อ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดพิษณุโลก
1.2 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเลยโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาที่สลับซับซ้อนเรียงตัว
เป็นกำแพงปิดล้อมเกือบทุกด้าน ทำใหจังหวัดเลยมีลักษณะเป็นเมืองแห่งทะเลภูเขา ตอนเหนือของจังหวัด
มีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองไหลเป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างจังหวัดเลยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศดังนี้
1) ที่ราบสูง บริเวณทิศตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง อำเภอภูเรือ
อำเภอท่าลี่ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว อยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลางโดยเฉลี่ย 600 เมตร
2) เขตที่ราบเชิงเขา บริเวณตอนใต้และตะวันออกของจังหวัด ได้แก่ อำเภอนาด้วง
อำเภอปากชม อำเภอภูกระดึง และอำเภอภูหลวง เป็นเขตที่ไม่ค่อยมีภูเขาสูงนัก พอที่จะทำ
การเพาะปลูกได้
3) ที่ราบลุ่ม บริเวณตอนกลางของจังหวัด โดยมีลุ่มน้ำสำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำเลยและลุ่มน้ำโขง
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังสะพุง อำเภอเมืองเลย และอำเภอเชียงคาน
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดเลย ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม
อากาศร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน
และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ สภาพอากาศจะหนาวเย็น จังหวัดเลยมีพื้นที่เป็น
ภูเขาสูง อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงง่าย อุณหภูมิสูงสุด 32.2 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.7
องศาเซลเซียส
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินจังหวัดเลย แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุต้นกำเนิดดิน
ได้ดังนี้
1) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำ มักมี
น้ำท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาและมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
หลังน้ำท่วม แบ่งเป็น