Page 11 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ตารางที่ 1 สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดเลย
เนื้อที่
ประเภทการใช้ที่ดิน
ไร่ ร้อยละ
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 523,593 7.71
พื้นที่เกษตรกรรม 4,854,887 71.33
พื้นที่นา 2,547,354 37.43
พืชไร่ 1,928,125 28.32
ไม้ยืนต้น 283,975 4.17
ไม้ผล 42,678 0.64
พืชสวน 12,898 0.18
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 26,492 0.39
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 12,473 0.19
เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม 892 0.01
พื้นที่ป่าไม้ 810,717 11.92
พื้นที่น้ำ 370,179 5.45
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 244,368 3.59
รวม 6,803,744 100.00
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2562
1.6 พื้นที่ชลประทาน
จังหวัดเลยมีเนื้อที่ชลประทาน 15,168.08 ไร่ (ร้อยละ 0.23 ของพื้นที่จังหวัด) กระจายอยู่ใน
6 อำเภอ มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 8 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้ รวม 103.845 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำน้ำเลย มีระดับกักเก็บอยู่ที่ 35.807 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น
ร้อยละ 34 ของน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดเลย (ตารางผนวกที่ 2 และตารางผนวกที่ 3)
1.7 เขตปฏิรูปที่ดิน
เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่จังหวัดเลย มีเนื้อที่ 1,422,365 ไร่ (ร้อยละ 19.92 ของพื้นที่จังหวัด)
โดยอำเภอที่มีพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมากที่สุด ได้แก่ อำเภอผาขาว อำเภอเอราวัณ และอำเภอนาด้วง
ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 4)
1.8 การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดเลย มีการขึ้นทะเบียน
เกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดในปี 2563 จำนวน 222,238 ราย รวมพื้นที่ 2,459,495 ไร่
กิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ยางพารา ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 5)