Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ข้าว (ไร่) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เชียงคาน 28,492 1,539 30,031 430 715 1,145
ด่านซ้าย 322 562 884 - - -
ท่าลี่ 15,396 1,025 16,421 - - -
นาด้วง 6,284 16 6,300 - 28 28
นาแห้ว 26 604 630 1,349 - 1,349
ปากชม 7,077 618 7,695 111 189 300
ผาขาว 2,396 303 2,699 28 3 31
ภูกระดึง - - - - - -
ภูเรือ 211 1,492 1,703 4,134 - 4,134
ภูหลวง - - - - - -
เมืองเลย 40,623 2,696 43,319 122 666 788
วังสะพุง 37,114 1,831 38,945 330 669 999
หนองหิน 55 46 102 - - -
เอราวัณ 5,671 335 6,006 65 92 157
รวม 143,667 11,067 154,734 6,569 2,362 8,931
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด
โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพาราซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพารา
ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอวังสะพุง อำเภอปากชม อำเภอนาด้วง เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอเมืองเลย อำเภอวังสะพุง อำเภอเชียงคาน
เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย