Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                2






                               (1) ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำเลว เนื้อดินหยาบ
                       จนถึงละเอียด อาทิ ตะกอนน้ำพาเชิงซ้อน (AC)
                               (2) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นพื้นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณ
                       ริมฝั่งแม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ

                       เช่น ชุดดินธาตุพนม (Tp) ชุดดินชุมพลบุรี (Chp) เป็นต้น

                             2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial Plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                       วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละฝั่ง
                       อาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
                               (1) ตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low Terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก

                       เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล
                       มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินชุมแพ (Cpa) ชุดดินนาอ้อ (Nao) เป็นต้น
                               (2) ตะพักลำน้ำระดับกลางถึงระดับสูง (Middle and High Terrace) เป็นที่ดอน มีสภาพ

                       พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ
                       ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดง ไปจนถึงแดง
                       การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี อาทิ ชุดดินนาแขม (Nak)

                             3) พื้นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจาก
                       การผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมาก

                       มีระดับต่ำลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจาก
                       การผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิด
                       หรือหินที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน แบ่งเป็น
                               (1) พื้นที่แบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดี
                       ปานกลางที่เนื้อดินเป็นทรายหยาบ สีน้ำตาล น้ำตาลปนเทา และเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรด

                       ปานกลาง เช่น ชุดดินละหานทราย (Lah) ชุดดินสีทน (St) เป็นต้น
                               (2) พื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสภาพพื้นที่แบบเนินเขา ดินส่วนใหญ่
                       มีการระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง เหลือง น้ำตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงแดง

                       เนื้อดินมีทรายปนอย่างชัดเจน บางบริเวณพบลูกรังในหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็น
                       กรดปานกลาง พบบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นร่อง อาทิ ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะ
                       เป็นที่ราบ อาทิ ชุดดินคำบง (Kg) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นที่ค่อนข้างราบถึงเป็นลูกคลื่น สำหรับดิน
                       ที่เกิดความไม่ต่อเนื่องทางธรณีวิทยา (Lithologic Discontinuities) ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นชั้นดินทราย

                       ในตอนบน และเปลี่ยนเป็นดินเหนียวหรือชั้นหินพื้น (Weathering Insitu) ทันทีในตอนล่าง (Abrupt
                       Textural Change) เช่น ชุดดินเขมราฐ (Kmr) ชุดดินหนองบัวแดง (Nbd) เป็นต้น

                             4) พื้นที่รองรับด้วยหินชนิดต่าง ๆ และโครงสร้างของหิน มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็น
                       ภูเขา หุบเขา เนินหรือที่ราบ ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัว และถูกควบคุมด้วยลักษณะของ
                       โครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่มีหินที่เป็นวัตถุต้นกำเนิดดินปะปนให้เห็นทั้งในหน้าตัดดินและ

                       ลอยหน้า แบ่งออกได้ตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14