Page 18 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
11
2.2 อ้อยโรงงาน
อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลยในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่
เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 3 - 4 )
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,040 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอปากชม 656 ไร่ อำเภอเมืองเลย 287 ไร่ และอำเภอวังสะพุง
98 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,358,752 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 49.40 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอวังสะพุง 317,641 ไร่ อำเภอเมืองเลย
218,780 ไร่ และอำเภอเชียงคาน 131,686 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 598,601 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 21.75 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอเมืองเลย 142,238 ไร่ อำเภอนาด้วง
70,422 ไร่ และอำเภอวังสะพุง 64,204 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 793,077 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
ที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 22 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.12 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
พบมากในอำเภอเมืองเลย
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 318,983 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.48 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอวังสะพุง 92,363 ไร่ อำเภอผาขาว 74,711 ไร่ และอำเภอเอราวัณ
62,552 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 96,698 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.15 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอำเภอผาขาว 29,142 ไร่ อำเภอวังสะพุง 19,305 ไร่ และอำเภอนาด้วง
13,752 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 3,999 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยโรงงานแต่ไม่ใช้พื้นที่
ปลูกอ้อยโรงงาน พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่ปลูก
อ้อยโรงงานในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดเลยมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 1,040,787 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุก
อำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอวังสะพุง 225,376 ไร่ รองลงมา
ได้แก่ อำเภอเมืองเลย 207,561 ไร่ อำเภอเชียงคาน 130,471 ไร่ และอำเภอปากชม 69,119 ไร่
โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 1,018 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 97.88 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอปากชม 656 ไร่ อำเภอเมืองเลย 264 ไร่ และอำเภอวังสะพุง 98 ไร่