Page 28 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          21



                  ก่อนการทดลองในดินมีปริมาณแมกนีเซียมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าอยู่ระหว่าง  0.28 – 0.54 เซนติโมลต่อกิโลกรัม
                  หลังการทดลองพบว่า ในดินมีปริมาณแคลเซียมไม่แตกทางสถิติเช่นเดียวกับผลวิเคราะห์ดินก่อนการทดลอง  ตำรับ
                  การทดลองที่ 2  การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ มีปริมาณแมกนีเซียมสูงที่สุด
                  เท่ากับ 0.49 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง  ตำรับการทดลองที่ 5 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา
                  300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ มีปริมาแมกนีเซียมต่ำที่สุดเท่ากับ 0.25  เซนติโมลต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 6)

                  ตารางที่ 9 ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนและหลังการทดลองปีที่ 1 และปีที่ 2


                                                                                                          -1
                                                                     ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (cmol(+)kg )
                                    ตำรับการทดลอง                          ปีที่  1             ปีที่ 2
                                                                       ก่อน      หลัง      ก่อน      หลัง

                  ตำรับที่ 1 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับ  2.92   0.46    0.28      0.44
                  กลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 2 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมัก  6.52   0.46   0.41   0.49
                  ชีวภาพ
                  ตำรับที่ 3 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ย  4.27   0.58   0.36   0.37
                  สด ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ

                  ตำรับที่ 4 ปุ๋ยหมักพด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบ  3.08   0.48   0.36     0.45
                  ตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 5 ปุ๋ยหมักพด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมัก  4.42   0.35   0.33    0.25
                  ชีวภาพ
                  ตำรับที่ 6 ปุ๋ยหมักพด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ย  5.32   0.27   0.53    0.35
                  สด และน้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 7 ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่   4.15   0.36   0.32     0.34
                  ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 8 ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่   3.88   0.50   0.54     0.45
                  ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ

                  ตำรับที่ 9 ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่   3.75   0.22   0.43     0.35
                  ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ
                                        F-test                          ns        ns       ns         ns
                                        CV (%)                        30.33     24.49     31.13      38.29

                  หมายเหตุ  ns หมายถึง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ


                  2. การเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน
                         2.1 ความสูงต้นข้าวโพดหวาน
                         งานวิจัยนี้ทำการทดลองเป็นเวลา 2 ปี ได้ทำการเก็บข้อมูลความสูงต้นข้าวโพดโดยการวัดความสูงต้นข้าวโพด
                  จากพื้นดินบริเวณโคนต้นจนถึงฐานใบธง  ซึ่งจะเก็บข้อมูลความสูงต้นข้าวโพดก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต  1  วัน จาก
                  ผลการทดลองปีที่ 1 (ตารางที่ 7และภาพที่ 1 ) พบว่า ผลการทดลองในแต่ละตำรับการทดลองมีความแตกต่างทาง

                  สถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง  ตำรับการทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบ มีความ
                  สูงต้นข้าวโพดสูงที่สุดเท่ากับ  201.42 ซม. รองลงมาคือตำรับการทดลองที่ 5 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.
                  ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพมีความสูงต้นข้าวโพดเท่ากับ 189.63 ซม. และตำรับการทดลองที่ 6 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33