Page 9 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                           9

                   รูปแบบ เช่น ทำน้ำนมข้าวโพดข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องทั้งฝักหรือเฉพาะเมล็ดแปรรูปทำครีมข้าวโพดหวาน และ

                   ข้าวโพดหวานแช่แข็งเป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น
                   เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป ซึ่งมีอัตราเติบโตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี นอกจากจะส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดหวาน

                   ในฤดูกาลแล้ว ยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดหวานในนาข้าวช่วงฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น
                          ฤดูปลูก ข้าวโพดหวานสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอ ช่วงปลูกที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพ
                   ดี คือ ฤดูหนาว ปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ต้นฤดูฝน ปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ควร
                   ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงดินมีการระบายน้ำได้ดี  หน้าดินลึก  ปริมาณอินทรียวัตถุสูง  มีปริมาณธาตุอาหาร
                   เพียงพอ  ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงดินเหนียว  มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมคือ 6.5-7

                          ด้านปริมาณความต้องการธาตุอาหารของธาตุอาหารหลักประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัสและ
                   ธาตุโพแทสเซียม นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ภูมิอากาศ เป้าหมายผลผลิต พันธุ์ข้าวโพด และการจัดการเช่น ธาตุ
                   ไนโตรเจน โดยปรกติประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุไนโตรเจน (apparent fertilizer N recovery, AFNR) ของข้าวโพด
                   มีค่าประมาณ 30-70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดดิน อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้และการจัดการน้ำ
                   โดยค่า AFNR จะลดลงเมื่อเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยให้สูงขึ้น และดินที่มีเนื้อหยาบจะสูงกว่าดินเนื้อละเอียด ทั้งนี้เนื่องจาก
                   ดินเนื้อละเอียดสามารถปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยกระบวนการ mineralization ได้มากกว่าดิน
                   เนื้อหยาบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสม จึงช่วยให้ได้ผลผลิตสูง เนื่องจากมีประสิทธิภาพการดูดใช้

                   ไนโตรเจนสูง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพี, 2548)
                          จากรายงานของสถาบันวิจัยพืชไร่ (2537) พบว่าเมื่อได้ผลผลิตข้าวโพด  587  กก. ต่อไร่  จะสูญเสียธาตุ
                   อาหารหลักไปกับเมล็ด  ได้แก่  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม คิดเป็น 4.5, 0.67 และ 9.50 กก.ต่อไร่
                   ตามลำดับ
                          การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของทรัพยากรดิน  จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียด
                   เกี่ยวกับทรัพยากรดินทั้งกายภาพ  คุณสมบัติทางเคมี  และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรดิน
                   ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดิน  พร้อมทั้งกำหนดมาตรการและวิธีการในการพัฒนา
                   ปรับปรุง  และอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านั้น  เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน  ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพของดิน
                   โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ  พด.12  เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง  เป็นแนวทาง
                   หนึ่งที่จะเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของข้าวโพดหวานอย่างยั่งยืนต่อ


                   ปุ๋ยชีวภาพ พด. 12
                          กรมพัฒนาที่ดินได้คิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำปุ๋ย
                   หมักที่ผลิตตามคำแนะนำของกรมมาเป็นวัสดุในการขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด. 12  ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถ
                   สร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมน
                   ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์4 สายพันธุ์ ได้แก่ 1.) จุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระในดิน สามารถ
                   ตรึงไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ Azotobacterchroococcum2.)

                   จุลินทรีย์ที่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ปลดปล่อยออกมาละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถ
                   ดูดใช้ได้ 3.) จุลินทรีย์ที่ปลดปล่อยกรดอินทรีย์ช่วยละลายแร่ธาตุที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ ให้อยู่ในรูปที่พืช
                   สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ Bacillus megateriumและ 4.) จุลินทรีย์ที่สร้างฮอร์โมนให้พืช ช่วยกระตุ้นการ
                   เจริญของรากและส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืช  โดยได้ใช้เวลาทดสอบ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มาเป็นระยะเวลา 2
                   ปี ก่อนแนะนำและส่งเสริมเกษตรกร ซึ่งจากการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในข้าว มันสำปะหลัง
                   ข้าวโพดหวาน และผักกะหล่ำปลี ปรากฏว่านอกจากจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว ยังสามารถ
                   เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ 5-15 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14