Page 13 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                          13

                   1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน

                          ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบตัวอย่างรวม (Composite Sample) ที่ระดับความลึก 0-15
                   เซนติเมตร  แล้วนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี  พบว่า  ดินก่อนการทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ

                   5.5 จัดเป็นกรดจัด อินทรียวัตถุ เท่ากับ 2.42 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลาง ฟอสฟอรัส เท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำ โพแทสเซียมเท่ากับ 87 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง

                            1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                                 หลังการทดลองปีที่ 1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในพิสัย 5.3-5.9 ซึ่งมีระดับของปฏิกิริยาดินเป็น

                   กรดจัดถึงกรดปานกลาง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ
                   พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าความเป็นกรดด่างสูงสุดเท่ากับ 5.9 จัดเป็น

                   กรดปานกลาง ในปีที่ 2 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างในแต่ละตำรับการทดลองเริ่มมีแนวโน้มโน้มเพิ่มมาอยู่ในระดับกรด
                   ปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (5.8-6.1) ยกเว้นตำรับการทดลองที่ 1 มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่าเดิม ส่วนในปีที่ 3 ค่า

                   ความเป็นกรดเป็นด่างทุกตำรับการทดลองลดลงอยู่ในพิสัย 5.8 ซึ่งมีระดับของปฏิกิริยาดินกรดปานกลาง ยกเว้น
                   ตำรับการทดลองที่ 1 ที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่มขึ้นเท่ากับ 5.5 จัดเป็นกรดจัด แสดงดังตารางที่ 1

                            1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ

                                 หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองอยู่ในพิสัยร้อย
                   ละ 2.6-3.5 ในระดับค่อนข้างสูง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ย

                   ชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าอินทรียวัตถุสูงที่สุด เท่ากับ
                   ร้อยละ 3.5 ปีที่ 2 ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในพิสัยร้อยละ 2.7- 3.5 ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนในปีที่ 3 ปริมาณอินทรีย์
                   วัตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองอยู่ในพิสัยร้อยละ 2.8- 3.93 ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง โดยตำรับการทดลอง

                   ที่ 6 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน มี
                   ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มมากสุดร้อยละ 3.93 ในระดับสูง แสดงดังตารางที่ 1


                             1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                                 หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง

                   ยกเว้นตำรับการทดลองที่ 1 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 2.67–13.0
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับที่ต่ำมากถึงปานกลาง โดยวิธีการที่ 5 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากสุด
                   เท่ากับ 13  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือ ตำรับที่ 6 4 2 3 และ1 โดยมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เท่ากับ

                   12.67 12.33 11.67 11.33 และ 2.67 ตามลำดับ หลังการทดลองปีที่ 2 พบว่า ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทาง
                   สถิติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 5.0–9.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำ ส่วนปีที่ 3 ที่ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                   ประโยชน์เพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 8-16.33
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับจัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง แสดงดังตารางที่ 1
                           1.4 ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้

                                 หลังการทดลองปีที่1 พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง มี
                   ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 121-306 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูง

                   มาก หลังการทดลองปีที่ 2 พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18