Page 6 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                           6

                   เหมาะสมตามชนิดของพืช และ4.ให้น้ำในช่วงเวลาและปริมาณที่เหมาะสมสำหรับพืชหลังนามีหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง

                   พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดหวาน กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ฝักทองและเห็ดฟาง ฯลฯ โดยพืชแต่ละชนิดสามารถ
                   ปลูกได้ทันทีหลังจากการทำนาเสร็จสิ้นเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวความชื้นในดินยังมีอยู่อย่างพอเหมาะซึ่งพืชสามารถ

                   เจริญเติบโตได้และนอกจากนี้เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรควรจะมีการศึกษาการใช้พื้นที่
                   ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ข้าวข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว

                   และพืชผักอีกหลายชนิด โดยในปัจจุบันการเพาะปลูกในหลายๆ พื้นที่กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากความ
                   เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ปริมาณน้ำตามเขื่อนต่างๆ ลดลงอย่างมาก อีกทั้งฝนที่เคยตกตามฤดูกาลก็

                   ไม่เป็นไปอย่างที่คิดเอาไว้ จึงทำให้การเพาะปลูกในบางพื้นที่ต้องยกเลิกไปแต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่พร้อมรับความ
                   เสี่ยงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายลดพื้นที่การทำนาปรังเพื่อลดการใช้
                   น้ำและให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยหลังนาแทนการปลูกข้าวโดยพืชทางเลือกที่เหมาะสมในการปลูกนั้นเป็น

                   พืชที่อายุสั้น ทนแล้ง และให้ผลผลิตเร็ว การปลูกพืชหลังนานอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกษตรกรจะได้รับจากการ
                   ปลูกพืชแบบเดิมแล้ว การปลูกพืชใช้น้ำน้อยจะช่วยตัดวงจรการระบาดของแมลงศัตรูข้าว เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ

                   ดิน เพิ่มปริมาณผลผลิตให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นและลดการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งภาคเหนือตอนล่าง
                   ของประเทศไทยมีพืชหลายชนิดที่เหมาะสมในการปลูกพืชหลังการทำนา สำหรับการเลือกพืชที่เกษตรกรจะนำมา
                   ปลูกนั้นจะต้องใช้หลักการ 4 อย่างเพื่อพิจารณา คือ 1.เลือกชนิดของพืชที่ใช้ปลูกให้ตรงกับความต้องการของตลาดมี

                   ความเหมาะสมกับพื้นที่ 2.ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมในการจัดการน้ำ 3.เลือกช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมตามชนิดของ
                   พืช และ 4.ให้น้ำในช่วงเวลาและปริมาณที่เหมาะสมสำหรับพืชหลังนามีหลายชนิด เช่น มันฝรั่งพืชตระกูลถั่วข้าวโพด

                   หวาน กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ฝักทองและเห็ดฟาง ฯลฯ โดยพืชแต่ละชนิดสามารถปลูกได้ทันทีหลังจากการ
                   ทำนาเสร็จสิ้นเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวความชื้นในดินยังมีอยู่อย่างพอเหมาะซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโตได้และ

                   นอกจากนี้เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรควรจะมีการศึกษาการใช้พันธุ์พืชที่ดี มีคุณภาพ ใส่
                   ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินอย่างถูกสูตร ถูกเวลา ถูกอัตราและถูกวิธี การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรจะใช้ในช่วงเวลา

                   และอัตราที่เหมาะสม
                         ข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี  และปลูกได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศเกษตรกรจะ
                   ปลูกข้าวโพดหวานในฤดูฝนช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมเก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม  และเดือนสิงหาคมเก็บเกี่ยวเดือน
                   ตุลาคม  สำหรับฤดูแล้งส่วนใหญ่จะปลูกหลังนาในเดือนตุลาคม  –  พฤศจิกายน  และเก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์  –
                   มีนาคมของทุกปีจังหวัดนครสวรรค์ถือว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดหวานทางภาคเหนือ โดยในปี 2557 มีเนื้อที่เพาะปลูก
                   7,562 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 7,520 ไร่  ผลผลิตรวม 17,431 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,318 กิโลกรัม ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น

                   เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ประสบปัญหาภัยแล้งมากขึ้นโดยช่วงต้นปี 2559 มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า
                   2,000-3,000  ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งน้อยกว่าในช่วงต้นปี  2558  ส่วนน้ำต้นทุนและการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา  พึง
                   ระวังว่าน้ำต้นทุนน้อย เกษตรกรได้นำความรู้ด้านการผลิตข้าวโพดหวานจากเดิมเคยปลูกในพื้นที่ไร่มาปรับเปลี่ยนเป็น
                   การปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งเกษตรกรสามารถควบคุมการให้น้ำทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดการเสี่ยงภัย การขาดทุน
                   มีผลทำให้เกษตรกรหันมาสนใจการปลูกข้าวโพดหวานหลังนาเพิ่มมากขึ้น  ตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ
                   ดังนั้น  จึงควรศึกษาการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลิตข้าวโพดหวานหลังนาของเกษตรกร  เพื่อให้ได้ข้อมูลแนวทางในการ
                   วางแผนปรับปรุงการผลิตและส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานหลังนาของเกษตรกร    และนำข้อมูลที่ได้จากการ

                   ศึกษาวิจัยครั้งนี้นำไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรผู้สนใจ  และเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดหวานจังหวัดนครสวรรค์
                   เพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป
                                                          วัตถุประสงค์
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11