Page 12 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                          12

                          ตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ขยายเชื้อ พด.12 แล้ว) ตามอัตราแนะนำของกรมพัฒนาที่ดิน (อัตรา 300 กก./ไร่)

                   + 3/4 ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
                          หมายเหตุ

                          ใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ดิน (จากการคำนวณโดยโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง)
                          2.2 ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ

                          2.2.1 ไถดะเตรียมแปลง โดยมีขนาดแปลงย่อย กว้าง 4.5 เมตร ยาว 6.0 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลงย่อย
                   50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างซ้ำ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยชีวภาพตามตำรับการทดลอง

                          2.2.2 ระยะปลูกระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 3 เมล็ด
                   หลังปลูก 14 วัน ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งเหลือ 2 ต้น/หลุม
                          2.2.3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามตำรับการทดลอง

                          2.2.4 ดูแลรักษา ให้น้ำ กำจัดวัชพืช
                          การบันทึกข้อมูล

                          1. ข้อมูลดิน
                          เก็บตัวอย่างดิน 2 ครั้ง คือ ก่อนการปลูกข้าวโพด และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ระดับความลึก  0 - 15
                   เซนติเมตร  เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน  ได้แก่ P, K, OM และ pH

                          2. ข้อมูลพืช
                          เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต   ได้แก่ ความสูงของต้นตรงบริเวณข้อของใบธง  ความกว้างของใบที่ 3 นับจาก

                   ยอดข้าวโพด  และน้ำหนักแห้งต้นข้าวโพด
                          เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักฝัก ความยาวฝัก จำนวนฝักต่อไร่ และวัด % ความหวานของ

                   ข้าวโพดรวมทั้งผลผลิตต่อไร่
                          3. วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติของ Analysis of Variance เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลตำรับการทดลองต่างๆ

                   แปลผลและรายงาน ข้อมูลที่ได้จากการทดลองในแปลงเกษตรกรจะนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้
                   ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan multiple range test (DMRT) ด้วยโปรแกรม
                   ประมวลผลทางสถิติ


















                                                     ผลการทดลองและวิจารณ์
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17