Page 7 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                           7

                          1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนา กลุ่มชุดดินที่ 4

                          2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินบางประการ
                          3. เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวานที่ปลูกโดยวิธีแตกต่างกัน


                                                        การตรวจเอกสาร

                          เป็นที่ทราบกันดีว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีความ
                   รุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกของเราใบนี้ได้ส่งผลต่อผู้คนจำนวนมากมาย หนีไม่พ้น
                   แม้แต่บ้านที่เราอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ทั่วประเทศไทยมีปริมาณลดน้อยลงมาก ส่งผล
                   กระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหนักยากที่จะหลีกเลี่ยง เมื่อเกิดภาวะ
                   เช่นนี้เกษตรกรผู้ปลูกพืชชนิดต่างๆ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศจึงมีความจำเป็นต้องหยุดการเพาะปลูกโดยเฉพาะการ
                   ทำนาปีซึ่งรัฐบาลมีนโยบายห้ามในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยเหตุผลสำคัญเพื่อรักษาปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด
                   เอาไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่จะมีฝนตกมาในฤดูกาลใหม่ แต่ผลกระทบที่ตาม

                   ของวิกฤติภัยแล้งอาจมิใช่มีเพียงเรื่องของการเพาะปลูกพืชพรรณ หากแต่ยังมีปัญหาในทางสังคมอีกมิติอื่นๆ ตามมา
                   อีกมากมายหากไม่มีนโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อคนทุกภาคส่วน ย้อนกลับมาที่ภาค
                   เกษตรกรรมบ้านเราเป็นที่ทราบกันดีว่าการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตมีความจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมากโดยเฉพาะ
                   นาปรัง ปัญหาภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นได้ส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรรายย่อยมากขึ้นการขาดแคลนน้ำนำมาซึ่งความ
                   เสียหายของผลผลิตโดยรวม รวมทั้งปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอนั้นส่งผลให้เกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถทำนาปรังได้
                   รวมทั้งในหลายพื้นที่ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ไม่พอเพียงกับความต้องการนับเป็น
                   ประเด็นร้อนที่กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก ประกอบกับในปัจจุบันข้าวเปลือกมีราคาตกต่ำลงมากปัญหาทั้งหมดจึง
                   ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตรกรที่ลดลงตามมาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอน
                   ของสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ยังพบว่ามีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่พยายามค้นคว้าสร้างแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับ
                   ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงผันผวน แนวทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่หน้าสนใจและมีการขยายผลมากขึ้นคือ “การปลูกพืชใช้

                   น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง” และ “การปลูกพืชหลังนา-พืชปรับปรุงบำรุงดิน” อย่างเช่นเกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรม
                   ทางเลือกในจังหวัดสุรินทร์ที่เดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้การปลูกพืชหลังนาในระบบเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง
                   และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ขยายผลต่อเกษตรกรและผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง
                          นอกจากการปลูกพืชหลังนาเพื่อสร้างรายได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีความสำคัญมากในระบบเกษตรอินทรีย์
                   เพราะพืชหลังนาเป็นกระบวนการปรับปรุงบำรุงดินและสร้างปุ๋ยพืชสด เป็นการสร้างปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งจากลำต้น
                   ใบและรากจากพืชตระกูลถั่ว เมื่อถึงระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่คือเมื่อพืชเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่จึงทำการ
                   ตัดสับแล้วไถกลบ หรือไถกลบไปในดินทั้งต้นโดยตรงแล้วแต่ชนิดของพืช หลังจากทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยผุพังไปก็จะให้ธาตุ

                   อาหารหมุนเวียนกลับสู่ดินซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับพืชที่จะปลูกต่อไป   สำหรับพืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุด
                   นั้น คือ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพุ่มดำ ถั่วเขียว ฯลฯ เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติพิเศษคือที่
                   รากมีปมเรียกว่าปมรากถั่วซึ่งจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยเฉพาะไนโตรเจน เป็นการบำรุงและซ้อมแซมดิน
                   หลังจากการใช้ดินมาในรอบเวลาการผลิตและใช้งานหน้าดินจากการผลิตข้าวนาปี การหันมาสนใจและพัฒนาองค์
                   ความรู้การปลูกพืชหลังนาและพืชหน้าแล้งที่ใช้น้ำน้อยจึงนับว่าเป็นนวัตกรรมการผลิตในระบบเกษตรนิเวศ เกษตร
                   อินทรีย์ที่เหมาะสม อย่างยิงกับเกษตรกรรายย่อยในช่วงเวลาวิกฤติของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นอยู่
                   ในปัจจุบัน ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นจะต้องช่วยกันพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้ต่อเนื่องไปในระยะยาว




                   ข้าวโพดหวาน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12