Page 10 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                          10

                          การศึกษาผลผลิตฝักสดของข้าวโพดหวานที่ปลูกในดินเนื้อหยาบ พบว่าการใส่ปุ๋ยหมักอัตราไม่เกิน 3.5 ตัน
                   ต่อไร่ ให้ผลตกค้างในฤดูปลูกที่ 1 ถึง 3 ไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 6-10-0 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ หรือ

                   ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใส่มูลไก่กับข้าวโพดหวานเพื่อให้ได้ผลผลิตเท่ากับการใส่ปุ๋ยเคมี 6-
                   10-0 กิโลกรัม N-P 2O 5- K 2O ต่อไร่ ต้องมูลไก่ไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัมต่อไร่ และการปลูกไมยราบไร้หนามแซม
                   ข้าวโพดแล้วไถกลบก่อนปลูกข้าวโพดหวานครั้งต่อไปรวมสองฤดูปลูกจะทาให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 130
                   คือ เพิ่มจาก 307 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 707 กิโลกรัมต่อไร่ และการปลูก ถั่วแปปและถั่วมะแฮะแซมข้าวโพดหวาน
                   สามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 77 และ 86 ตามลำดับ (อำนาจ,2548)
                          สมนึก และคณะ (มปพ.) ทดลองปลูกข้าวโพดหวานในชุดดินสัตหีบ จ.ชลบุรี ระหว่างปี 2541-2543 พบว่า

                   การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ และการใช้ถั่วพุ่มเป็นปุ๋ยพืชสด ติดต่อกัน 3 ปี ทำให้ค่า pH ของดิน
                   เพิ่มขึ้น และปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น โดยผลผลิตข้าวโพดหวานที่ได้จากการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักอัตรา 4

                   ตันต่อไร่ จะสูงกว่าการใช้ถั่วพุ่มเป็นปุ๋ยพืชสด แต่การใช้ถั่วพุ่มเป็นปุ๋ยพืชสดจะมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 3 ปี สูงกว่าการใช้
                   ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่

                          วิโรจน์ และวรรณี (2546) ทดลองปลูกข้าวโพดหวานในกลุ่มชุดดินที่ 43 (ชุดดินสัตหีบ) จ.ชลบุรี พบว่า
                   ผลผลิตข้าวโพดหวานที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวอัตรา40 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงที่สุด ส่วนการไถกลบ
                   พืชปุ๋ยสดและไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวโพดหวานจะให้ผลผลิตต่ำที่สุด ค่า pH ของดินลดลง ปริมาณธาตุอาหารพืชใน
                   ดินและความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดินลดลง และขาดทุนทุกตารับการทดลอง
                          สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551) ศึกษากิจกรรมทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือก
                   ศึกษาวิธีการใช้ และอัตราการใช้ปุ๋ยชีวภาพ   ในห้องปฏิบัติการ และโรงเรือนกระจกเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
                   จุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 สรุปผลได้ดังนี้  จากการศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อ พด. 12 ที่เหมาะสมต่อ
                   การเจริญเติบโตของข้าวโพดเปรียบเทียบกับวิธีการควบคุมการใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตัน/ไร่ อย่างเดียว การใช้ร่วมกับ
                   ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพอัตรา 100  300  และ  500  กก/ไร่ พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร  15-15-15 อัตรา
                   ครึ่งหนึ่งที่แนะนำคือ 25  กก/ไร่ ให้น้ำหนักต้นแห้งข้าวโพดสูงสุด 8.46 กรัม/ต้น การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ

                   อัตราต่าง ๆ พบว่าปุ๋ยชีวภาพ 300 กก/ไร่ ให้น้ำหนักต้นแห้งข้าวโพด 8.24 กรัม/ต้น สูงกว่าอัตรา100 และ 500 กก./
                   ไร่ ที่ให้น้ำหนักแห้ง 7.5 และ7.97 กรัม/ต้นตามลำดับและสูงกว่าการใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียวที่มีน้ำหนักต้นแห้ง 7.25
                   กรัม/ต้น โดยตำรับควบคุมมีน้ำหนักต้นแห้งต่ำสุด 6.8กรัม/ต้น
                          Suc (2006)  รายงานว่า กลุ่มของจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยชีวภาพหลักๆที่มีการวิจัย และผลิตเพื่อพัฒนานำมาใช้
                   ประโยชน์ทางการเกษตรในประเทศเวียดนามซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตพืช และคุณภาพ   มีด้วยกัน 5 กลุ่ม ได้แก่
                   จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนให้กับพืชตระกูลถั่ว และอยู่แบบอิสระในดิน  ตรึงไนโตรเจนให้กับข้าว ข้าวโพด  จุลินทรีย์
                   ละลายฟอสเฟส  จุลินทรีย์ผสมของจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนกับจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรีย์

                   สารและเชื้อราไมคอร์ไรซา โดยปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจนและอยู่แบบอิสระในดิน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยง
                   สัตว์   ข้าว และ  ชา ได้ร้อยละ  9.4 – 10.2  ,4.07 – 19.59 และ 9.1 – 26  ตามลำดับ  ส่วน ปุ๋ยชีวภาพละลาย
                   ฟอสเฟตสามารถประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสได้ ร้อยละ 30-40 และหากใช้ร่วมกันสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว ร้อย
                   ละ 15.2-15.7   ถั่วเหลือง ร้อยละ 16.3-19.5  และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
                          ประเสริฐและคณะ (2529 ) พบว่าการใช้ปุยหมักอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ ทำให้ความหนาแน่นของ ดินลดลงจาก
                   1.68 เป็น 1.55 ซึ่งมากกว่าการใส่ปุยเคมี 1 เท่าตัว ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มี ความสามารถในการ
                   ปลดปล่อยธาตุอาหารได้เหมือนกับการใช้ปุยเคมี จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรมีการศึกษา เพื่อเป็นการตอนสนองต่อ
                   วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์


                   การปลูกพืชหลังนา
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15