Page 23 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            23





                            4) การดำเนินการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรทั้ง 5 ราย
                             5) การตรวจเยี่ยมแปลงปลูกพืชสมุนไพรของเกษตรกรทั้ง 5 ราย โดยเกษตรกรภายในกลุ่ม
              เป็นผู้ตรวจสอบกันเอง ในช่วงการเตรียมแปลงปลูก และช่วงการดูแลรักษา
                             6) การประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการผลิต และการประชุมเพื่อประเมินผลเกษตรกร

              ทั้ง 5 ราย ผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม(พี จี เอส) หรือไม่หากไม่ผ่านเนื่องจากสาเหตุจากอะไรและหา
              แนวทางแก้ไขต่อไป


                                                   ผลการทดลองและวิจารณ์

              1.  พืชสมุนไพรประจำท้องถิ่น

                          จากการสำรวจและรวบรวมชนิดของพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัด

              นครราชสีมา โดยการสุ่มสำรวจตามหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
                          1) บ้านหนองบัวสะอาด ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีชนิดของพืช

              สมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีมีในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายของดินเค็ม จำนวน 30 ชนิด ดังแสดงใน
              (แผนที่ 2)

                          2) บ้านหนองเม็ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีชนิด

              ของพืชสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีมีในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายของดินเค็ม จำนวน 24 ชนิด ดัง
              แสดงใน (แผนที่ 3)

                          3) บ้านป่าตอง ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีชนิดของพืชสมุนไพรที่
              สามารถเจริญเติบโตได้ดีมีในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายของดินเค็ม จำนวน 34 ชนิด ดังแสดงใน       (แผน

              ที่ 4)

                          4) บ้านคูขาด ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีชนิด
              ของพืชสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีมีในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายของดินเค็ม จำนวน 6 ชนิด ดัง

              แสดงใน (แผนที่ 5)
                          นอกจากนี้ยัง พบว่ามีพืชสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มจัด ได้แก่ ต้นรากสามสิบ ดังแสดง

              ใน (แผนที่ 6) มีรายละเอียด ดังนี้
              รากสามสิบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus racemosus Willd.
              สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง

              (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง,
              ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว
              , ศตาวรี เป็นต้น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28