Page 22 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
จ.ดัชนีการเก็บเกี่ยว (harvest index ; HI) คำนวณได้จากสูตร
HI = น้ำหนักแห้งของหัว (กก./ไร่)
น้ำหนักแห้งของต้น (กก./ไร่)+น้ำหนักแห้งของหัว (กก./ไร่)
(4) เก็บตัวอย่างพืชสมุนไพร เพื่อหาสารสำคัญในพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
ก. การเก็บตัวอย่างพืชสมุนไพรเพื่อเตรียมส่งสกัด-แยกหาสารสำคัญ
ข. ส่งตัวอย่างพืชสมุนไพรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาสาระสำคัญ
(5) เก็บข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนการผลิตพืชสมุนไพร
ต้นทุนการผลิตพืชสมุนไพร คำนวณได้จากต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ
อุปกรณ์คงทน และค่าดอกเบี้ยหรือค่าเสียโอกาสของเงินลงทุนในเครื่องมืออุปกรณ์คงทน ต้นทุนผันแปร ได้แก่
ค่าแรงงาน ค่าวัสดุ เช่น ปุ๋ยเคมี , ต้นพันธุ์พืชสมุนไพร, ปุ๋ยอินทรีย์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์
การเกษตร ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของเงินลงทุน และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หาผลตอบแทน ต้นทุน
และกำไรจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 500 กก./ไร่, 1,000 กก./ไร่ และ 2,000 กก./ไร่ โดยวิเคราะห์ต้นทุนรวม
(บาท/ไร่) ต้นทุนผันแปร (บาท/ไร่) ต้นทุนคงที่ (บาท/ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่) ราคาที่เกษตรกรขายได้ (บาท/กก.)
ต้นทุนรวม (บาท/กก.) กำไรสุทธิ (บาท/ไร่) กำไรสุทธิ (บาท/กก.) ปริมาณผลผลิตคุ้มทุน (กก./ไร่) และราคาผลผลิต
คุ้มทุน (บาท/ไร่)
4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(1) การวิเคราะห์ทางสถิติ
นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ ( ANOVA)โดย
F-test เปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแต่ละทรีตเมนต์โดยใช้ค่า Duncan's New Multiple
3. การดำเนินการวิจัยปีที่ 3 นำผลการวิจัยจากปีที่ 2 มาใช้ประโยชน์ในการการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) โดยนักวิจัยทำหน้าที่ผู้ประสานงาน และเป็นพี่เลี้ยงในการให้
คำแนะนำทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1) การคัดเลือกเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ มีพื้นที่เหมาะสมกับระบบเกษตร
อินทรีย์ และมีความตั้งใจในการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) เพื่อ
พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี จำนวนอย่างน้อย 5 รายในหมู่บ้านเดียวกัน
2) การจัดอบรมเกษตรกรทั้ง 5 ราย โดยเชิญวิทยากรที่มีความชำนาญด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) มาให้ความรู้กับเกษตรกรเพื่อให้การผลิตพืชสมุนไพรถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3) การประชุม โดยนัดหมายเกษตรกรทั้ง 5 ราย มาประชุมร่วมกันเพื่อให้คำปฏิญาณต่อ
กลุ่มในการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) และจัดทำข้อตกลงร่วมกันของ
เกษตรกรภายในกลุ่ม กำหนดข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม กำหนดวิธีการในการควบคุมตรวจสอบผู้ผลิตให้
ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้สอดคล้องกับสภาพการผลิต ขนาดฟาร์ม และเศรษฐกิจ-สังคมของท้องถิ่น กำหนด
ขั้นตอนกระบวนการให้การรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ แผนการผลิตพืชสมุนไพร มีการจดบันทึกบัญชีฟาร์ม มี
บทลงโทษหากสมาชิกภายในกลุ่มไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงการกำหนดระยะเวลาการตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกร
ทั้ง 5 ราย