Page 21 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
(6) ปลูกพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด จากต้นกล้าพันธุ์ที่เพาะไว้
(7) ดูแลรักษาแปลงทดลอง ได้แก่ การกำจัดวัชพืชและการให้น้ำตามความจำเป็น
(8) การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ประเภทรากหรือหัว ใช้วิธีเก็บขุดอย่างระมัดระวัง ประเภทใบ
หรือเก็บทั้งต้น ,ประเภทดอกและประเภทผลและเมล็ด ใช้วิธีเก็บเด็ดหรือตัด
3) การเก็บข้อมูล
(1) เก็บข้อมูลตัวอย่างดิน 2 ครั้ง ดังนี้
ก.ก่อนปลูกพืชสมุนไพร เก็บตัวอย่างดินจากแปลงทดลองทุกๆแปลงที่ระดับความลึก 0 - 30
เซนติเมตร จำนวน 3 จุดต่อแปลงย่อย มารวมกันแล้ว ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดตัวอย่างดินให้ละเอียดและเลือกเศษซาก
พืชออกให้หมด ผสมคลุกเคล้าดินให้มีความสม่ำเสมอ เก็บตัวอย่างดินจำนวน 0.5 กิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาด
พร้อมแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้ว ปิดปากถุงให้แน่นเพื่อส่งไปวิเคราะห์หาค่า EC pH
OM P K และ CEC
ข.หลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร เก็บตัวอย่างดินจากแปลงทดลองทุกๆแปลงที่ระดับความ
ลึก 0 - 30 เซนติเมตร จำนวน 3 จุดต่อแปลงย่อย มารวมกันแล้ว ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดตัวอย่างดินให้ละเอียดและ
เลือกเศษซากพืชออกให้หมด ผสมคลุกเคล้าดินให้มีความสม่ำเสมอ เก็บตัวอย่างดินจำนวน 0.5 กิโลกรัม ใส่
ถุงพลาสติกที่สะอาดพร้อมแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้ว ปิดปากถุงให้แน่นเพื่อส่งไป
วิเคราะห์ EC pH OM P K และ CEC
(2) เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต เมื่อพืชสมุนไพรอายุ 30 วัน และ 60 วันหลังปลูก ดังนี้
ก.ความสูงต้น วัดความสูงจากโคนต้นไปถึงส่วนยอดบนสุด มีหน่วยเป็นเซนติเมตร โดยวัด
ความสูงของต้นสมุนไพรจำนวน 10 ต้น ต่อแปลงย่อย
ข.ความกว้างทรงพุ่ม วัดจากพุ่มใบส่วนที่กว้างที่สุด มีหน่วยเป็นเซนติเมตร โดยวัดความ
กว้างทรงพุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 10 ต้น ต่อแปลงย่อย
(3) เก็บข้อมูลผลผลิต เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ดังนี้
ก.น้ำหนักสดต้น (กก./ไร่) เก็บข้อมูลในพื้นที่เก็บเกี่ยว 8 ตารางเมตร โดยขุดนำส่วนของ
หัวและต้นขึ้นมา แล้วทำการปลิดหัวพืชสมุนไพรออกให้หมด นำส่วนของต้นไปชั่งน้ำหนักสดทั้งหมดแล้วนำไป
คำนวณหาน้ำหนักสดต้นต่อไร่
ข.น้ำหนักแห้งต้น (กก./ไร่) สุ่มวัดจาก 5 ต้น โดยนำตัวอย่างที่สุ่มได้ 5 ต้น ไปแยกส่วนของ
หัว และต้น นำส่วนของต้นไปหั่นเป็นชิ้นยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา
48 ชม. หรือจนน้ำหนักคงที่ นำออกจากตู้อบ แล้วนำไปชั่งน้ำหนักแห้งของต้น แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย
ค.น้ำหนักสดหัว (กก./ไร่) เก็บข้อมูลในพื้นที่เก็บเกี่ยว 8 ตารางเมตร โดยขุดนำส่วนของหัว
และต้นขึ้นมา แล้วทำการปลิดหัวพืชสมุนไพรออกให้หมด นำหัวไปล้างทำความสะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วนำไปชั่ง
น้ำหนักหัวสดทั้งหมดแล้วนำไปคำนวณหาน้ำหนักสดหัวต่อไร่
ง.น้ำหนักแห้งหัว (กก./ไร่) สุ่มวัดจาก 5 ต้น โดยนำตัวอย่างที่สุ่มได้ 5 ต้น ไปแยกส่วนของหัว
และต้น นำส่วนของหัวไปหั่นเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชม. หรือจนน้ำหนัก
คงที่ นำออกจากตู้อบ แล้วนำไปชั่งน้ำหนักแห้งของหัว แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย