Page 18 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            18





              อาศัยเถาวัลย์ และว่าน เช่น สบู่เลือด ขมิ้นเครือ ส่องฟ้า ตีนตั่ง พังคี โลดทะนงแดง ข้าวเย็นใต้ โด่ไม่รู้ล้ม ยอป่า
              ส้มลม กันเกรา กำแพงเจ็ดชั้น พญายา และขันทองพยาบาท เป็นต้น
                            เพชรชรินทร์ (2551) ศึกษาการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพร กรณีศึกษานายสำรอง สุ
              ทธาวา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีพบว่า การรักษาโรคโดยใชสมุนไพรนั้นมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์

              ของสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง คือ จากการลงพื้นที่และได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร และการรักษาโรคของนายสำรอง
              พบว่า นายสำรองมีวิธีการรักษาโรคที่อิงความเชื่อโบราณที่เป็นความเชื่อจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ประกอบกับความรู้
              สมัยใหม่ที่นายสำรองได้ร่ำเรียนมาจนได้ใบประกอบโรคศิลป์ และสามารถเปิดร้านขายยาเป็นของตนเอง บ่งบอกถึง

              ความสามารถในการรักษาโรคด้วยสมุนไพรของนายสำรอง รวมไปถึงความรู้เรื่องการเก็บสมุนไพร และการวิเคราะห์
              โรค องค์ความรู้เหล่านี้ที่นายสำรองได้รับการถ่ายทอดสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ และจากการสอนของครูบาอาจารย์
              จนทำให้นายสำรองเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพร ดังนั้นองค์ความรู้เหล่านี้จึงเป็นมรดกอัน
              ทรงคุณค่าจากบรรพบุรุษที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

                            สมพร (2546) ศึกษาการปนปลอมยาสังเคราะห์ในยาสมุนไพรไทยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตพบว่า เห
              ตผลที่กลุ่มประชากรเลือกใช้ยาสมุนไพรเนื่องจากได้รับการบอกเล่าสรรพคุณจากบุคคลอื่น คิดเป็นร้อยละ 39.1 และ
              กลุ่มประชากรมีความคิดเห็นว่ายาสมุนไพรช่วยให้อาการเจ็บป่วยดีขึ้นได้มาก คิดเป็นร้อยละ 55.0 แต่กลุ่มประชากร
              ที่ยังคงมีความคิดเห็นว่าการบริโภคยาสมุนไพรในปริมาณมากๆ จะสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ คิดเป็น

              ร้อยละ 43.0 โดยสารปนปลอม/ปนเปื้อนที่กลุ่มประชากรกลัวมาก ได้แก่ เชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ
              สารเคมี/โลหะหนักร้อยละ 34.4 ซึ่งมีความเห็นว่าสารเหล่านี้จะมีผลต่อไตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.7 ส่วนในแง่
              ของความคิดเห็นของกลุ่มประชากรเพื่อพัฒนาปรับปรุงยาสมุนไพรให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น คือต้องการให้มีการ
              รับรองทางการแพทย์แผนปัจจุบันถึงร้อยละ 78.6 รองลงมาคือต้องการให้มีการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ร้อยละ

              18.4 สำหรับยาสังเคราะห์ที่ปนปลอมในยาสมุนไพรที่สุ่มตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบาง
              (Thin-layer chromatography) ตรวจไม่พบการปนปลอมด้วยยาสังเคราะห์ prednisolone dexamethasone
              indomethacin aspirin acetaminophen และ phenylbutazone จำนวน 17 ผลิตภัณฑ์ และตรวจพบการ

              ปนปลอมด้วย acetaminophen เพียง 1 ผลิตภัณฑ์ การวิจัยครั้งนี้มีปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้คือ
              การตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างมีบางตัวอย่างที่ไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอน/ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
              อาจเนื่องมาจากกลุ่มประชากรยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในการใช้ยาสมุนไพรและสารปนปลอมในยาสมุนไพร
              จึงควรที่จะให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการบริโภคยาสมุนไพรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
                            อัมพาพรรณ (2554) การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของ

              พืชสมุนไพรในป่าชุมชน กรณีศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดสุรินทร์พบว่า ในด้านความคิดเห็นของชุมชนต่อสภาพ
              ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.9 มีความเห้นว่าสภาพความหลากหลายทาง
              ชีวภาพของป่าชุมชนเปลี่ยนไปจากเดิม โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 57.6 เห็นว่าเป็นเพราะคนอยู่มากขึ้น ด้านการเข้าใช้

              ประโยชน์จากป่าชุมชนร้อยละ 50.5 มีความเห็นว่าสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ ส่วนประเภทของ
              ประโยชน์ที่ประชาชนได้จากป่าชุมชน พบว่ามีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนมากเป็นอันดับแรกคือใช้เป็นแหล่งใน
              การหาอาหาร
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23