Page 19 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มต้น เดือนตุลาคม 2560
สิ้นสุด เดือนกันยายน 2563
สถานที่ดำเนินการ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
จุดพิกัด
อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
ต้นพันธุ์รากสามสิบ
ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
วิธีการ
1. การดำเนินการวิจัยปีที่ 1 สำรวจและรวบรวมชนิดของพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่น และจัดทำแผนที่การ
กระจายตัวของพืชสมุนไพร อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
สำรวจและรวบรวมชนิดของพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่น โดยคัดเลือกดินทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในพื้นที่ดิน
เค็มน้อย ดินเค็มปานกลางและดินเค็มจัด ในบริเวณพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มของอำเภอ บัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ดังนี้ (1) พื้นที่ดินเค็มน้อย ได้แก่ ชุดดินชำนิ ดินนาดูนที่เป็นดินร่วนหยาบ ดินโนนไทยที่เป็นดินลึก ชุดดินพล ชุดดิน
ประทาย และชุดดินพระทองคำ (2) พื้นที่ดินเค็มปานกลาง ได้แก่ ดินคงที่มีการดัดแปลงทำคันนาจนมีจุดประสีเทา
ชุดดินแก้งสนามนาง และชุดดินสีทน และ (3) พื้นที่ดินเค็มจัด ได้แก่ ชุดดินกุลาร้องไห้ และดำเนินการสำรวจพืช
สมุนไพรระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลพิกัดที่พบพืชสมุนไพร ชนิดของพืช
สมุนไพร ชื่อชุดดิน เก็บตัวอย่างดินเพื่อหาค่า EC,pH,OM,P และ K การวัดการเจริญเติบโต และส่งตัวอย่างพืช
สมุนไพรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสกัด-แยก หาสารสำคัญในพืชสมุนไพรแต่ละชนิด รายละเอียดแสดงดังตารางที่
1 ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาวิเคราะห์การกระจายโดยวิธีการสถิติเชิงพื้นที่ (Geo-statistical analysis)
ตารางที่ 1 แสดงพิกัด ชนิดพืชสมุนไพร ,ชุดดิน ,สมบัติทางเคมีของดิน ,การเจริญเติบโตและสาระสำคัญ
ที่พบในพืชสมุนไพร ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดนครราชสีมา
พิกัด ชนิดของพืช ชุดดิน เก็บตัวอย่างดินหาค่า การเจริญเติบโต สาระสำคัญที่พบใน
สมุนไพร EC , pH , OM , P , ความสูงต้น (ซม.) พืชสมุนไพร
K