Page 26 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            26










































              ภาพที่ 6 แสดงแผนที่หมู่บ้านที่พบพืชสมุนไพร “รากสามสิบ”  ในพื้นที่ดินเค็มจัด อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา


              2. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังทดลอง
                      2.1 ชุดดินกุลาร้องไห้ กลุ่มชุดดินที่ 20
                      ได้ทำการทดลองในพื้นที่บ้านโคกสะอาด ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในชุดดินกุลา
              ร้องไห้ที่เกษตรกรได้ขุดเอาดินด้านล่างขึ้นมาถมหน้าดิน

              ชุดดินกุลาร้องให้ (Kula Ronghai series:Ki) กลุ่มชุดดินที่ 20
              การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Natraqualfs
              การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพา
              สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %

              การระบายน้ำ เลว
              การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
              การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงช้า
              พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา บางแห่งถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า

              เนื่องจากเป็นดินเค็มจัด
              การแพร่กระจาย พบมากบริเวณตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
              การจัดเรียงชั้น Apg-Btgn-Cg
              ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็น ดินร่วนหรือ

              ดินร่วนเหนียวปนทราย สีเทาหรือสีเทาปนชมพู ซึ่งเป็นชั้นสะสมประจุโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ มักพบจุดประสีน้ำตาล
              สีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน ในฤดูแล้งจะมีคราบเกลือลอยหน้าที่ผิวดิน ในดินล่างลึก
              กว่า 1 เมตรลงไป เป็นดินร่วน สีเทาหรือสีเทาปนเขียวหรืออาจพบดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีเทาปน

              ชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อน (ชั้น 2C) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.0-7.0) ในดินบนและเป็นด่างเล็กน้อยถึง
              เป็นด่างจัด (pH 7.5-8.5) ในดินล่าง
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31