Page 17 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            17





                             2.8 ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
                                กรมพัฒนาที่ดิน (2556) ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเศษพืช เช่น ฟาง

              ข้าว เปลือกถั่ว เศษหญ้าและเศษพืชต่างๆ มาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีและสารเร่งจุลินทรีย์ทำการหมักและ
              คลุกเคล้า(กลับกอง) ตามระยะเวลา จนกระทั่งเศษพืชย่อยสลายเปลี่ยนสภาพจากเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยร่วนและมีสี
              น้ำตาลปนดำ จึงนำไปผสมดินหรือนำไปใส่ในไร่นา สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงใน
              การย่อยสลายวัสดุเหลือใชจากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลา

              รวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียที่ย่อ
              ประโยชน์ของปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1) ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย 2) ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน 3)
              ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี 4) สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง 5) ช่วยลดปริมาณขยะและการเผา
              ทำลาย 6) ช่วยทำลายโรคคนและโรคพืชได้ และ7) ช่วยทำลายไข่ หนอน แมลงและเมล็ดวัชพืช ส่วนผสมของวัสดุใน

              การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน 1) เศษพืชแห้ง 1,000 กิโลกรัม 2) มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม 3) ปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม และ 4)
              สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 1 ซอง วิธีการกองปุ๋ยหมัก แบบใช้เศษพืช/มูลสัตว์/ปุ๋ยเคมี/สารเร่งจุลินทรีย์ อัตราส่วน
              เศษพืช 1,000 กก./มูลสัตว์ 200กก./ปุ๋ยยูเรีย 2 กก./สารเร่ง 1ซอง ควรแบ่งทำทีละชั้น โดยกองเศษพืชแล้วรดน้ำ ย้ำ

              ให้แน่น ใส่วัสดุแต่ละชนิดตามลำดับ ให้เศษพืชหนาชั้นละประมาณ 30-50 ซม.ชั้นบนสุดใช้ดินกลบให้หนา 2-3 นิ้ว
              เพื่อป้องกันแดดเผาและรักษาความชุ่มชื้นจากนั้นควบคุมความชื้นไม่แห้งหรือเปียกจนเกินไปควรกลับกองทุก7-10
              วัน ภายใน 30-45 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักใช้ ปุ๋ยหมักใช้ได้หรือยัง สังเกตง่ายๆ คือ 1) สีของปุ๋ยจะเข้มขึ้น (มีสีน้ำตาลคล้ำ-
              ดำ) 2) อุณหภูมิภายในกองลดลง(ไม่ร้อน) 3) เศษพืชจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย 4) กลิ่นไม่เหม็น (หอมเหมือนดิน
              ธรรมชาติ) และ 5) อาจพบต้นพืชขึ้นบนกอง วิธีการใช้และอัตราการใช้ปุ๋ยหมัก 1) คลุกเคล้ากับดินรองก้นหลุมก่อน

              ปลูกไม้ผลยืนต้น อัตรา 10-30 กก./ต้น 2) ใส่เพิ่มเติมรอบทรงพุ่ม(แล้วพรวนดินกลบ)อัตรา 20-50 กก./ต้น อย่าง
              น้อยปีละครั้ง 3) ผสมดินปลูกไม้กระถาง ถุงเพาะชำกล้าไม้ ใช้สัดส่วน ดิน/ปุ๋ยหมัก/ทราย สัดส่วน 4/3/3 ถึง 4/1/1
              4) ในแปลงพืชผัก ไม้ดอกไม้ ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ส่วนในแปลงพืชไร่หรือนาข้าวแนะนำให้ใช้ปุ๋ยพืชสดจะสะดวกกว่า

              และที่ง่ายที่สุดคือการไถพรวนตอซังหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกครั้ง(ทันที)
                          2.9 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                             นงคราญ (2544) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างความ
              เข้มแข็งของชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกพบว่า การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร ผู้ประกอบ

              กิจกรรมด้านสมุนไพรส่วนใหญ่ ได้รับความรู้ แนวคิด และวิธีการต่างๆ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รวมทั้ง
              การศึกษาค้นคว้าสั่งสมประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง กิจกรรมและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่พบ ได้แก่ การอบไอน้ำ
              ด้วยสมุนไพร การปรุงยารักษาโรคในลักษณะเป็นยาต้ม เป็นยาเม็ด เป็นน้ำ เป็นน้ำมัน เป็นผง และเป็นแคปซูล
              เพื่อใช้บำรุงรักษาสุขภาพ และบำบัดรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคปวดเมื่อย อัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง

              เบาหวาน ริดสีดวง โรคกระเพาะอาหาร โรคกระดูก รวมทั้งใช้เป็นยาอายุวัฒนะ และใช้เพื่อเลิกยาเสพติด เป็นต้น
              ผู้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพร มีทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุเฉลี่ยระหว่าง 30-60 ปี เป็นผู้ซึ่งใช้ประโยชน์จาก
              สมุนไพรมานานแล้ว ละคิดว่าจะยังคงใช้ต่อไป สำหรับการใช้สมุนไพรเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
              ได้แก่ช่วยทำให้ประชาชนมีรายได้ มีงานทำ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีสุขภาพดี สร้างการรวมกลุ่มและความ

              สามัคคี ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาไว้ ไม่ให้สูญหายไปจากท้องถิ่น
                            พราวุฒิ (2547) ศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพร ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงสาย
              ทอ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า พรรณพืชสมุนไพรที่หายากและมีสรรพคุณทางยาแผนโบราณ ได้ลดลงเป็นจำนวนมาก ทั้ง
              ในด้านจำนวนชนิดและปริมาณ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะไม่มีการศึกษารวบรวมเป็นเอกสารทางวิชาการอย่างชัดเจน แต่

              จากประสบการณ์เดินป่าเก็บยาสมุนไพรของเหล่าหมอพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันยังคงเดินทางเข้าออกดงสายทอเป็นประจำ
              สามารถนำมาเป็นเครื่องยืนยันถึงสภาพความเสื่อมโทรมของแหล่งสมุนไพรพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้พบว่ายังมีพืช
              สมุนไพรที่สรรพคุณทางยาสูงเหลืออยู่ประมาณ 66 ชนิด ทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ป่าเบญจพรรณผสมเต็งรัง รวมถึงไม้อิง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22