Page 13 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            13





              น่าจะได้มีการศึกษาในประเด็นต่อไปนี้คือ
                            1) ชนิดและปริมาณการให้ปุ๋ยที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์
                            2) ความเข้มข้นของแสงที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์
                            3) บทบาทของฤดูปลูกที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์

                            4) อิทธิพลของการเขตกรรมที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์
                            5) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์กับความชื้นในดิน
                          2.6 ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems , PGS มูลนิธิเกษตร

              อินทรีย์ไทย ,2559 ได้รายงานไว้ ดังนี้
                            2.6.1 ความหมายการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Organic Guarantee System (PGS)
              เป็นการรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรมและการเกษตร
              ของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจำหน่ายในชุมชนหรือจำหน่ายตรงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้

              ส่วนเสียได้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการนักพัฒนานักวิชาการและผู้บริโภคซึ่งอยู่นอกระบบการรับรองโดยบุคคลที่ 3 หรือ
              หน่วยตรวจรับรอง PGS เป็นกระบวนการที่ไม่มีสูตรสำเร็จขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีเป็นการพัฒนากระบวนการรับประกัน
              ความเป็นอินทรีย์ในระดับชุมชนโดยอาศัยกระบวนการทางสังคมการมีส่วนร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความซื่อสัตย์
              ไว้วางใจโปร่งใสความเชื่อมั่นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจากเวทีของผู้มีส่วนได้

              ส่วนเสียโดยให้มีเอกสารหรือให้เกษตรกรกรอกแบบฟอร์มน้อยที่สุด (เรียบเรียงจาก IFOAM,2008)
                            2.6.2 ความสำคัญของการมีระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม “เกษตรอินทรีย์” เป็นกลยุทธ์ในการ
              ขับเคลื่อนเกษตรกรรายย่อยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาต่างๆได้แก่ด้านสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจชุมชน
              ความมั่นคงทางอาหารลดความยากจนและสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตามที่องค์กรที่

              เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAOและ IFAD) ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆมีนโยบาย
              เกษตรอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์ไม่ได้จำกัดว่าต้องได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองเท่านั้นแต่เป็นการเกษตร
              ทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อยเรียกว่า“non certified organic” ซึ่งหมายถึงระบบการเกษตรทุกชนิดที่ใช้

              กระบวนการธรรมชาติมากกว่าการพึ่งปัจจัยจากภายนอกและการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจ
              ชุมชนเน้นการผลิตเพื่อยังชีพผลผลิตที่มากเกินพอจึงจำหน่ายให้เพื่อนบ้านและตลาดท้องถิ่นที่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
              สื่อสารกันได้โดยตรงซึ่งการปฏิบัติของผู้ผลิตเป็นไปตามหลักการเกษตรอินทรีย์แต่ไม่เน้นการขอการรับรองจากบุคคล
              ที่ 3เนื่องจากการตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรองมีค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มกับผลผลิตที่มีไม่มากพอและเป็นกระบวนการ
              ยุ่งยากในการทำระบบเอกสาร

                          ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีความเป็นสากลและมีมาตรฐานกฎระเบียบควบคุมอยู่การติดฉลากคำว่า
              “อินทรีย์” บางประเทศเป็นกฎหมายบังคับว่าจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยรับรองตามมาตรฐานเกษตร
              อินทรีย์บางประเทศไม่บังคับแต่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากเป็นเกษตรกรรายย่อยต่อมา

              IFOAM ได้คิดกระบวนการรับรองแบบกลุ่ม(Grower Group Certification) ขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายการตรวจรับรองแต่
              ก็ยังเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนสำหรับผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกรรายย่อยหรือผู้ที่ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ใหม่
              กระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม(Participatory Guarantee System,PGS)เป็นแนวทางหนึ่งในการรับประกัน
              ความเป็นอินทรีย์เป็นกระบวนการทางสังคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อปรับปรุงสภาพภูมิสังคมของท้องถิ่นและสร้าง

              แรงจูงใจให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการพัฒนาตลาดท้องถิ่นซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถแยก
              ผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากสินค้าปกติได้ “กระบวนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม” เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่
              จะส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเข้าสู่การผลิตมากขึ้นนำไปสู่การสร้างตลาดทางเลือกเศรษฐกิจอาหารท้องถิ่นและใช้
              พลังงานในการผลิตและการขนส่งอาหารสั้นลงและสร้างสังคมชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลส่งผลให้เกิด

              การพัฒนาอย่างยั่งยืน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18