Page 15 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            15





              รับรองออกแบบมาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นักพัฒนา
              นักวิชาการ และผู้บริโภค โดยอาศัยกระบวนการทางสังคมการมีส่วนร่วม พบปะแลกเปลี่ยน บนพื้นฐานของความ
              ซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ ความโปร่งใส ความเชื่อมั่น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
              จากเวทีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยให้มีเอกสารหรือให้เกษตรกรกรอกแบบฟอร์มน้อยที่สุด และร่วมกำหนดกฎเกณฑ์

              ต่างๆที่สำคัญ ได้แก่
                              1) กำหนดข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม จากหลักปรัชญาเกษตรอินทรีย์สากล โดย
              ประยุกต์และอ้างอิงจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ยอมรับของประเทศ เช่น มกษ.9000 เกษตรอินทรีย์เล่ม 1 และ

              เล่ม 2 เขียนเป็นภาษาง่ายๆ สั้นๆ ให้สมาชิกเข้าใจง่าย โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะการผลิตเกษตรอินทรีย์
              ของกลุ่ม สภาพเศรษฐกิจ-ภูมิสังคม และทรัพยากรในท้องถิ่น
                              2) กำหนดวิธีการในการควบคุมตรวจสอบผู้ผลิตให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ให้สอดคล้อง
              กับสภาพการผลิต ขนาดฟาร์ม และเศรษฐกิจ-สังคมของแต่ละท้องถิ่น

                              3) กำหนดขั้นตอนกระบวนการให้การรับรองการผลิต เกษตรอินทรีย์ โดยการฝึกปฏิบัติการ
              ตรวจฟาร์มให้กับเกษตรกรและเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐาน เป็นผู้ตรวจประเมินของกลุ่ม ใน
              ขั้นตอนการตรวจเยี่ยมแปลงเพื่อน อนุญาตให้สมาชิกกลุ่ม ผู้บริโภค ผู้ประกอบการร่วมการตรวจ และให้คำแนะนำ
              กันได้ และการรับรองฟาร์มต้องผ่านที่ประชุมกลุ่มเห็นชอบ และเกษตรกรต้องร่วมกระบวนการกลุ่มตลอดเพื่อพัฒนา

              จนได้การรับรอง
                              พี จี เอส เป็นกระบวนการที่ไม่มีสูตรสำเร็จ มีความเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ตามทรัพยากร
              สิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งเหมาะสมกับการทำฟาร์มขนาดเล็ก ขายตรง มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำระหว่าง
              ผู้ผลิตและผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ ผู้ผลิต พี จี เอส ทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติจริงจากจิตวิญญาณ มากกว่าเป็นผู้ผลิตที่

              ต้องพิสูจน์ให้ผู้ตรวจของหน่วยตรวจรับรองบุคคลที่ 3 จากการดูบันทึกและเอกสารเป็นหลัก ถึงแม้ว่ากลุ่มที่ทำ พี จี
              เอสในประเทศต่างๆ จะมีวิธีการที่หลากหลาย แต่ทุกกลุ่มต้องอยู่ภายใต้หลักการเดียวกัน
                            2.6.6 คุณสมบัติของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ที่เข้าร่วมโครงการ

                              1) มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตที่มีลักษณะการผลิตที่คล้ายกันหรืออยู่หมู่บ้านเดียวกัน 5 รายขึ้นไป
              และพื้นที่การผลิตเหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์
                              2) กลุ่มผู้ผลิตต้องมีแนวคิดมุ่งมั่นที่จะทำเกษตรอินทรีย์ ไม่เปลี่ยนกลับไปกลับมากับการผลิต
              ปกติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบต่อผู้รับผิดชอบต่อผู้บริโภค ต่อทรัพยากร
              และต่อสิ่งแวดล้อม

                              3) กลุ่มผู้ผลิตมีความสมัครใจ และต้องการมีการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน
              ร่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค และขยายฐานการตลาด
                              4) กลุ่มมีความเข้มแข็งด้านศักยภาพของคนในชุมชน การบริหารจัดการกลุ่ม เช่น การรวมกลุ่ม

              ผลิตและจัดการด้านการตลาด ซึ่งเป็นหลักประกันในความสำเร็จของโครงการ
                              5) มีภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรท้องถิ่น เอกชน เป็นพี่เลี้ยง หรือเป็น
              ผู้สนับสนุนหรือส่งเสริมการเรียนรู้ หรือจัดหาช่องทางตลาด
                            2.6.7 ประโยชน์จากการทำ พี จี เอส

                              1) ทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าสู่ตลาดได้กว้างขึ้น
                              2) ค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองน้อย กำหนดกันเองภายในกลุ่ม
                              3) สร้างความมั่นใจ และสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับผู้บริโภค
                              4) ส่งเสริมตลาดอาหารท้องถิ่น เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนการซื้ออาหารในชุมชน สร้างงาน สร้าง

              รายได้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20