Page 12 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            12





                          วิธีการเก็บสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น โดยทั่วไปไม่มีอะไรสลับซับซ้อนประเภทใบหรือดอก ใช้วิธี
              เด็ดธรรมดา ส่วนแบบราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อประกันให้ได้ส่วนที่เป็นยามากที่สุด
              สำหรับเปลือกต้นหรือเปลือกราก มีผลต่อการดำรงชีวิตของต้นพืชสมุนไพร ดังนั้นจึงควรสนใจวิธีการเก็บดังที่ได้
              กล่าวมาแล้วข้างต้น

                          2.3 พืชสมุนไพรที่สามารถปลูกได้ในดินเค็ม
                          พืชทนเค็ม ได้แก่ พริกไทย กระเทียม หอมแดง หญ้าแห้วหมู กะเพรา งา คำฝอย หญ้าชันกาด
              มะเดื่อ ทับทิม ขี้เหล็ก สะเดา ขลู่ เหงือกปลาหมอ ลูกใต้ใบ เทียนนา หัวปลี และฝรั่ง (กรมพัฒนาที่ดิน ,2544)

              และ (นวลจันทร์ ,2559)  ได้รายงานเกี่ยวกับชนิดของพืชสมุนไพรที่อาจปลูกได้ในดินเค็ม ได้แก่ หญ้าแห้วหมู
              แสมทะเล สมอ มะเดื่อ หญ้าชันกาด คำฝอย ขลู่ ลูกใต้ใบ สะเดา เหงือกปลาหมอ ขี้เหล็ก พริกไทย กระเทียม
              หอมแดง กะเพรา มะแว้งเครือ ฟ้าทะลายโจร รากกรุงเขมา เถาบอระเพ็ด สะเดา เถากำแพงเจ็ดชั้น
                          2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรที่ดำเนินการในประเทศไทย

                          จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร  ที่ดำเนินการในประเทศไทยโดยหน่วยงานต่าง ๆ
              เช่น  กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยพืชสมุนไพร
              สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
              ประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

              มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
              มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ทบวงมหาวิทยาลัย
              และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ พบว่าหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับพืช
              สมุนไพรรวมกันไม่ต่ำกว่า 300 ชนิด โดยทำการวิจัยด้านต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์

              การปลูก การให้ปุ๋ย การให้น้ำ แมลง โรค วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สรีรวิทยา  องค์ประกอบทางเคมีและสารสำคัญ
              เทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชกรรม
                         2.5 แนวทางในการวิจัยเกี่ยวกับผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร

                          เนื่องจากมีหลักฐานและงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าชนิดและปริมาณการสังเคราะห์สารเมทา
              โบไลท์ทุติยภูมิ(secondary metabolite หรือ natural product) ในต้นพืช  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารสำคัญที่มี
              บทบาทต่อการแสดงผลในการรักษาอาการของโรคในพืชสมุนไพรนั้นมีปัจจัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องหลายปัจจัย เช่น
                            2.5.1 ปัจจัยทางกายภาพหรือปัจจัยภายนอก  เช่น  แสง  (ลักษณะทางปริมาณและ
              คุณภาพของแสง)  อุณหภูมิ  ธาตุอาหารในดิน  ภาวะเครียดเนื่องจากการขาดน้ำ

                            2.5.2 ปัจจัยทางชีวภาพหรือปัจจัยภายใน  ได้แก่ อายุ หรือระยะการเจริญเติบโต โรค และแมลง
              ศัตรูต่าง ๆ สาระสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ที่พบในพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสารที่
              จัดเป็นสารเมทาโบไลท์ทุติยภูมิ ปริมาณการสังเคราะห์สารดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารข้างต้นด้วย

              ดังนั้นการศึกษาปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบ
              ทางเคมีของพืชสมุนไพร จึงมีบทบาทสำคัญต่อการหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตที่เป็นสารออกฤทธิ์ (ชนิดและ
              ปริมาณสารออกฤทธิ์) และผลผลิตที่เป็นมวลชีวภาพ (น้ำหนักแห้ง/น้ำหนักสด) ของพืชสมุนไพรให้สูงขึ้นและเพียงพอ
              ต่อการนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ

                          การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร  น่าจะมีการศึกษาในประเด็น
              ต่อไปนี้คือ
                            1) การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ecotype ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
                            2) การเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตและส่วนของต้นสมุนไพรที่มีผลต่อชนิดและปริมาณสาร

              ออกฤทธิ์
                          การศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17