Page 8 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                             8





                                                      หลักการและเหตุผล

                             พืชสมุนไพรมีความสำคัญกับประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันประเทศไทย
              ประสบปัญหาทางด้านวัตถุดิบพืชสมุนไพรที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้ทั้ง ชนิด

              ปริมาณ และคุณภาพ ในขณะที่เกษตรกรผู้ผลิตก็ประสบปัญหาด้านการตลาดไม่เอื้ออำนวย ขาดความเชื่อมโยง
              ระหว่างผู้ประกอบการที่ใช้ผลผลิตโดยตรง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพวัตถุดิบ ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ และความ
              ปลอดภัยของผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเกษตรกร ทั้งด้านคุณภาพ ต้นทุนการ

              ผลิต และแรงงาน เพื่อให้แข่งขันกับวัตถุดิบพืชสมุนไพรราคาถูกจากต่างประเทศ สถานการณ์การค้าสมุนไพร มีมูลค่า
              การค้าสมุนไพรในตลาดโลก 4.4 ล้านบาท มูลค่าการค้าสมุนไพรในไทย 48,000 ล้านบาท ปัจจุบันไทยส่งออก
              สมุนไพรไปประเทศญี่ปุ่น และนำเข้าสมุนไพรจากออสเตรเลีย จีน และอินเดีย (กระทรวงพาณิชย์ , 2559)
                             ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญต่อการทำการเกษตร ในจังหวัดนครราชสีมา มีการกระจายตัวของ

              พื้นที่ดินเค็มประมาณ 3,795,683 ไร่ โดยพบพื้นที่ที่มีการกระจายของดินเค็มได้แก่ อำเภอบัวใหญ่,บัวลาย,ประทาย ,
              โนนแดง,ขามสะแกแสง,บ้านเหลื่อม,สีดา,คง,เมืองยาง,พิมาย,โนนสูง,โนนไทย,ขามทะเลสอ และอำเภอ ด่านขุนทด
              จากการสังเกตเบื้องต้นในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และยังพบว่า มีพืชสมุนไพรที่สามารถขึ้น
              ได้ในพื้นที่ดินเค็มน้อยที่มีค่าการนำไฟฟ้า 2-4 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ ลูกใต้ใบ หญ้างวงช้าง เทียนนา กระเทียม

              หอม กระเพรา ตะไคร้ และมะกรูด พืชสมุนไพรที่สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ดินเค็มปานกลางที่มีค่าการนำไฟฟ้า 4-8 เดซิ
              ซีเมนต่อเมตร ได้แก่ รากสามสิบ หญ้าชันกาด แห้วหมู กกลังกา โทงเทง ขี้เหล็ก และสะเดา ดังนั้น ในการศึกษาวิจัย
              ครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มสำหรับปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการ
              สำรวจชนิด และคุณภาพของพืชสมุนไพรที่สามารถขึ้นได้ในท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อศึกษาทดลองหาแนวทางในการเพิ่ม

              คุณภาพของชนิดและคุณภาพของพืชสมุนไพรที่เหมาะสมปลูกในท้องถิ่น อันจะเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมี
              โอกาสเข้าสู่กระบวนการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) เพื่อให้เกิดความ
              คุ้มค่าเหมาะสมต่อการในไปส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ดินเค็มสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ง่าย และ

              สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

                                                         วัตถุประสงค์
              1. ศึกษาการกระจายตัวของชนิดพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
              2. ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มคุณภาพของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในพื้นที่ดินเค็ม

              3. ศึกษากระบวนการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส)
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13