Page 9 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
การตรวจเอกสาร
1. ดินเค็ม
ดินเค็มคือ ดินที่มีค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดออกมาจากดินบริเวณที่ราชพืชหยั่ง
ถึงเกินกว่า 2 mS/cm (กรมพัฒนาที่ดิน, 2527) หรือดินเค็ม (saline soil) หมายถึงดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่
ในสารละลายดินมากเกินไปจนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาด
น้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไปนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย
โดยความเค็มของดินสามารถประเมินได้จากค่าการนำไฟฟ้าของดินซึ่งจะผันแปรไปตามปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้
1.1 อันตรายของความเค็มที่มีต่อพืช ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1) ผลทางตรงได้แก่
(1) ลดการดูดน้ำของพืชโดยการเพิ่ม osmotic pressure ของสารละลายดินทำให้พืชแสดง
อาการขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลงหรืออาจตายไปได้
(2) ธาตุบางชนิดเป็นพิษแก่พืชโดยตรง หรือทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารเนื่องจากมี
Na, B, Cl หรือ มีไบคาร์บอเนตมากเกินไป
2) ผลทางอ้อม คือ ดินที่มีน้ำชลประทานเค็มจะทำให้เกลือสะสมตามชั้นของดิน ทำลายโครงสร้าง
ของดิน ทำให้การซาบซึมน้ำช้า และคุณสมบัติทางกายภาพของดินเลวแล้วยังทำให้คุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนแปลงไปด้วย
1.2 กลไกการทนเค็มของพืช
1) หลีกเลี่ยงการสะสมในไซโตพลาสซึมในปริมาณที่เป็นพิษโดยการมี Salt grand หรือเคลื่อนย้าย
เกลือไปสะสมไว้ใน vacuole
2) สร้าง enzyme ต่างๆ มีคามสามารถในการทนต่อความเข้มข้นของเกลือสูงและสร้าง enzyme
ให้ทำปฏิกิริยาต่างๆ เพื่อความทนเค็มได้
3) การดูดเกลือเข้ามาสะสมในบริเวณรากหรือลำต้น
4) การเพิ่มปริมาณน้ำภายในเซลล์ทำให้ความเข้มข้นของเกลือภายในเซลล์ลดลง
5) รากพืชสามารถที่จะแทรกตัวในดินที่เป็นแผ่นทึบได้
6) รากพืช exclude เกลือและดูดเอาเฉพาะน้ำเข้าไปได้
7) การสร้างสารเคลือบใบ สร้างใบหนาขึ้นเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้
1.3 ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก
1) ความเป็นพิษของไอออนที่พืชดูดไปสะสมภายในเซลล์ต่อขบวนการสร้างสรีรวิทยาต่างๆ ของพืช
เช่น Cl ที่มากเกินไปจะทำให้ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก นอกจากนี้ ปริมาณเกลือที่มีมากเช่น NaCl จะทำให้
สมดุลของธาตุต่างๆ เสียไป พืชจึงเลือกเอาประจุที่ต้องการไปใช้ได้ยากขึ้น
2) ความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชเช่น การที่มี Na มากเกินไปทำให้พืชขาด K, Ca และ Mg เป็น
ต้นและอาจทำให้พืชมีการทนทานต่อสารพิษบางอย่างน้อยลงเช่น B และ Li
3) ปัญหาการขาดน้ำของพืช (moisture pressure) ทั้งนี้เพราะเกลือในดินจะทำให้ Osmotic
pressure ของสารละลายในดินแตกต่างกับ Osmotic pressure ของของเหลวในรากพืชน้อยมาก ทำให้พืชดูดน้ำได้
น้อยกว่าอัตราการคายน้ำซึ่งมีอยู่สูงโดยเฉพาะในสภาวะแห้งแล้ง
4) อนุมูล Na ที่มีอยู่ในปริมาณมากในดิน โดยเฉพาะในดินโซดิกจะทำให้โครงสร้างของดินเสีย ดิน
แน่น การถ่ายเทน้ำและอากาศในดินไม่ดี รากพืชชอนไชได้ยาก
1.4 ลักษณะที่พืชได้รับผลกระทบจากเกลือในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ
ความสามารถในการทนเค็มของพืชในแต่ละชนิดไม่เท่ากันและในแต่ละระยะการเจริญเติบโตแต่ละ
ช่วงไม่เหมือนกัน ดังลักษณะของข้าวที่ได้รับผลกระทบในดินเค็ม ดังนี้