Page 10 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            10





                           1) ในระยะเมล็ดงอก จะงอกช้ากว่าปกติและมีผลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ
              พืชและระดับความเค็มที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามใบพืชบางชนิดจะไม่มีปฏิกิริยาหรือมีน้อยมากเนื่องจากพืชใช้อาหาร
              ที่มีอยู่ภายในเมล็ดพืช
                                2) ระยะกล้าอ่อน ในระยะนี้พืชจะได้รับผลแห่งความเค็มมากและมีเปอร์เซ็นต์ตายสูง

                            3) ระยะก่อนออกดอก เป็นระยะที่มีความสามารถในการทนเค็มสูง การแตกกอมีน้อยมาก แสดง
              อาการให้เห็นคือ ปลายใบไหม้และม้วน
                            4) ระยะออกดอก ความเค็มมีผลต่อการเจริญของเกสรตัวผู้ ทำให้การผสมเกสรติดลดลง เปอร์เซ็นต์

              เมล็ดลีบลดลง ผลผลิตลดลงอย่างมาก
                                 5) ระยะเก็บเกี่ยว จำนวนแขนงและรวงต่อกอ ความยาวรวงและเมล็ดต่อรวงผลผลิตและน้ำหนัก
              ตอซังลดลง
                            ลักษณะของพืชอื่นๆ คล้ายคลึงคือ อาการที่แสดงออกเมื่อได้รับอิทธิพลของความเค็ม คือ

              แคระแกร็น ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบแห้ง ผลผลิตต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นและตายไปในที่สุด
                                 1.5 แนวทางการจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                                  1) การป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม
                              (1) การปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส สะเดา หรือหญ้าแฝกแถบสลับพืชไร่ และควรปรับปรุงดิน

              ด้วยปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ
                              (2) การน้ำน้ำจืดจากแหล่งน้ำใต้ดินบนพื้นที่รับน้ำมาใช้ประโยชน์ หากบนพื้นที่เนินรับน้ำมีน้ำ
              ใต้ดินไม่เค็มสามารถนำน้ำมาใช้เพาะปลูกพืชได้ ซึ่งการสูบน้ำบาดาลจืดบริเวณพื้นที่รับน้ำขึ้นมาใช้ เป็นการลดระดับ
              น้ำใต้ดิน มีผลต่อการลดความดันของชั้นน้ำใต้ดินเค็มบริเวณพื้นที่ให้น้ำและสามารถลดปริมาณการแทรกซึกของเกลือ

              สู่ชั้นผิวดิน
                              2) การปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มน้อยถึงดินเค็มปานกลางเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
                              (1) การปลูกข้าว ควรปรับหน้าดินให้มีระดับสม่ำเสมอ ทำคูระบายน้ำ ปรับคันนาปลูกต้นไม้

              เศรษฐกิจ ไม้โตเร็ว ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก แกลบ พืชปุ๋ยสด และใช้ข้าวทนเค็ม เช่น ข้าวขาวดอก
              มะลิ 105 เป็นต้น
                              (2) การปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในพื้นที่ดินเค็มน้อยถึงเค็มปานกลางที่น้ำไม่ท่วม หรือหลังเก็บ
              เกี่ยวข้าวแล้วมีน้ำพอในการเพาะปลูก ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก แกลบ พืชปุ๋ยสด และใช้ข้าวทนเค็ม
              เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ กุยช่าย แตงแคนตาลูป และคะน้า เป็นต้น ใช้ระบบน้ำหยดช่วยควบคุมความชื้นในดิน

              และคลุมดินหลังปลูกพืช เพื่อรักษาความชื้นในดินและป้องกันการสะสมของเกลือที่ผิวดิน
                              3) การแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม โดยการปลูกต้นกระถินออสเตรเลีย ร่วมกับการปลูกหญ้าดิกซีเพื่อ
              คลุมดินรักษาความชื้นในดินและป้องกันการสะสมของเกลือที่ผิวดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, มปป.)

              2. พืชสมุนไพร
                             2.1 ความสำคัญของพืชสมุนไพร
                               สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่ายาที่ได้จากการสกัด
              พืชสมุนไพรนั้น ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญประเทศไทยมีพืชชนิดต่าง

              ๆ เป็นจำนวนมากที่สามารถใช้เป็นสมุนไพรได้ ประกอบกับความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพรขึ้นอีกครั้ง
              โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน นอกจากนี้พืชสมุนไพรยังจัดเป็นพืช
              เศรษฐกิจ สามารถปลูกเป็นการค้าได้ ได้แก่ กระวาน ขมิ้นชัน มะขามเปียก ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศ
              ยังคงมีความต้องการอีก ทางด้านประโยชน์ของพืชสมุนไพร มีดังนี้ 1.สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้

              จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท 2.มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้อง
              สั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า 3.ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง 4.ใช้เป็น
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15