Page 6 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
ชื่อโครงการวิจัย การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่น
ไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็ม
ของจังหวัดนครราชสีมา
Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to
Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima
province.
กลุ่มชุดดินที่ 20 ชุดดิน กุลาร้องไห้
สถานที่ดำเนินการ บ้านโคกสะอาด ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ดำเนินการ นางภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย
ผู้ร่วมดำเนินการ นายจักรพันธ์ เภาสระคู และนางนิพาภร ศรีบัณฑิต
บทคัดย่อ
การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การ
รับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมาในชุดดินกุลาร้องไห้
ทำการทดลอง ณ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2563 โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการกระจายตัวของชนิดพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอบัวใหญ่ จังหวัด
นครราชสีมา 2) ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มคุณภาพของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในพื้นที่ดินเค็ม และ 3) ศึกษา
กระบวนการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พี จี เอส) มีการวางแผนการทดลองแบบ
สุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design ; RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ มี 5 ตำรับทดลอง ประกอบด้วย
ตำรับทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ตำรับทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
อัตรา 500 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 อัตรา 1,000 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 4 ใส่
ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 อัตรา 1,500 กก./ไร่ และตำรับทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
อัตรา 2,000 กก./ไร่
ผลการทดลอง พบว่า 1) ตำรับทดลองที่ 5 ช่วยลดระดับความเค็มของดินและปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง
ของดินได้ดีกว่าตำรับทดลองอื่น โดยมีระดับความเค็มของดินเท่ากับ 0.81 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร และมีค่า pH เท่ากับ
7.6 และช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากที่สุด
เท่ากับ 0.51 เปอร์เซ็นต์,24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 39 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่อายุเก็บเกี่ยว
110 วัน มากที่สุด เท่ากับ 586.00 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2) ตำรับทดลองที่ 2 มีค่า TPC คือ 1.612 ±0.054 mg
GAE/g dry weight และมีค่า TFC คือ 1.089 ±0.036 mg ECE/g dry weight มากกว่าสารสกัดรากสามสิบที่ปลูก
ในตำรับทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้มีค่า IC50 ที่ดีที่สุด คือ 2.279 ±0.135 mg crude
extract/ml reaction ดีกว่าสารสกัดรากสามสิบที่ปลูกในตำรับทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ