Page 16 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
3. เหมาะสมปานกลาง-เหมาะสมดี มี 25 ชุดดิน ส่วนใหญ่พบในสภาพพื้นที่ลุ่มและมีบางส่วนพบบน
พื้นที่ดอน ดินทั้งหมดมีความซึมน้ าค่อนข้างช้า-ปานกลางถึงช้า-ช้ามาก ดินส่วนใหญ่เป็นพวกดินร่วนละเอียด
มีบางส่วนเป็นดินเหนียวปนกรวดลูกรัง โดยมีค่าความซึมน้ า 0.5-5 ถึง น้อยกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
4. เหมาะสมปานกลาง มี 22 ชุดดิน ส่วนใหญ่พบในสภาพพื้นที่ลุ่มและมีบางส่วนพบบนพื้นที่ดอน
ดินทั้งหมดมีความซึมน้ าค่อนข้างช้าถึงปานกลาง ดินส่วนใหญ่เป็นพวกดินร่วนละเอียดมีบางส่วนเป็นดินเหนียว
โดยมีค่าความซึมน้ า 0.5-5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
5. เหมาะสมปานกลาง-ไม่เหมาะสม มี 15 ชุดดิน พบทั้งในสภาพพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน ดินทั้งหมด
มีความซึมน้ าค่อนข้างช้า-ปานกลางถึงค่อนข้างเร็ว-เร็ว ดินมีทั้งพวกดินทรายและดินเหนียวปนกรวดลูกรัง
โดยมีค่าความซึมน้ า 0.5-5 ถึง มากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
6. ไม่เหมาะสม มี 153 ชุดดิน พบในสภาพพื้นที่ดอน ดินทั้งหมดมีความซึมน้ าค่อนข้างเร็ว-เร็ว ดิน
เป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก เหนียวละเอียด เหนียวปนกรวดลูกรัง ร่วนปนกรวดลูกรัง ร่วนละเอียด ร่วน
หยาบ และดินทราย โดยมีค่าความซึมน้ ามากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง (ส านักส ารวจดินและวิจัยทรัพยากร
ดิน, 2557)
สมปอง นิลพันธ์ (ม.ป.ป.) ศึกษาความซึมน้ าของกลุ่มชุดดินจ านวน 37 กลุ่ม 45 ชุดดิน ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือต่อการสร้างสระน้ าในไร่นา ส าหรับพื้นที่ลุ่มพบว่าดินเกือบทั้งหมดมีความซึมน้ าต่ าถึง
ปานกลาง ดินที่มีความเหมาะสมดีในการเก็บกักน้ า ส่วนดินบนพื้นที่ดอนพบว่ามีเป็นส่วนน้อยที่มีความ
เหมาะสมดีในการเก็บกักน้ า ในการจัดท าแผนที่ความเหมาะสมของดินในการเก็บกักน้ าและความเสี่ยงต่อการ
เป็นน้ าเค็มส าหรับสร้างสระน้ าใน ไร่นาได้ใช้เทคนิคการซ้อนทับ พบว่าดินที่เหมาะสมดีและไม่เสี่ยงมีเนื้อที่
ร้อยละ 4.44 เหมาะสมดีแต่เสี่ยง ร้อยละ 9.96 เหมาะสมปานกลางและไม่เสี่ยง ร้อยละ 13.76 เหมาะสมปาน
กลางแต่เสี่ยง ร้อยละ 17.58 ไม่ค่อยเหมาะสม ร้อยละ 33.96 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 9.46 และพื้นที่เบ็ดเตล็ด
อื่นๆ ร้อยละ 10.84 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ยังมีการศึกษากระบวนการที่แสดงถึงภาวะการเป็นทะเลทราย ตามข้อก าหนด UNDP
Office to Combat Desertification and Drought (UNSO) ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ การชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion) จากลมและน้ า การแพร่กระจายดินเค็ม ความเสื่อม
โทรมด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับการเลือกพื้นที่ในการสร้างสระน้ า
การแปรสภาพเป็นทะเลทราย (Desertification) หมายถึง ความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่
แห้งแล้ง กึ่งแห้งแล้ง และ dry sub-humid areas อันเนื่องจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์
Babaev และคณะ (1993) อธิบายถึง Desertification ประกอบไปด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพืชคลุม
ดิน การชะล้างพังทลายของดิน การขยายตัวของดินเค็ม และสภาพน้ าท่วมขังในพื้นที่ทุ่งหญ้า ได้มีการ
วิเคราะห์เพื่อจ าแนกสภาพพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับความแห้งแล้งและความเสื่อมโทรมของดินโดยใช้ข้อมูล
จากดาวเทียม พบว่าปริมาณน้ าฝนรายปีกับค่าการระเหยของน้ ารายปีมีสัดส่วนที่น ามาวิเคราะห์จ าแนก
ประเภทความแห้งแล้งอยู่ในช่วง 0.05 - 0.65
UNSO (1999) รายงานภาวะการเป็นทะเลทรายในประเทศไทยโดยการใช้ดัชนีความแห้งแล้ง พบว่า
พื้นที่ประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบมีร้อยละ 2 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ยุทธชัย และคณะ (2546) ได้ศึกษาเรื่องความแห้งแล้งและภาวะการเป็นทะเลทรายในประเทศไทย
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งและภาวะการเป็นทะเลทราย
6.93 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.15 ของพื้นที่ประเทศ