Page 15 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ภาพที่ 1 รูปแบบสระน้ าในไร่นา ขนาด 1,260 ลูกบากศก์เมตร รูปตัว L และ I
ที่มา (กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2558)
การพิจารณาเลือกพื้นที่ในการสร้างสระน้ า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการขุดสระแล้วไม่ได้น้ าคือ
ลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลต่อปริมาณน้ าที่จะเก็บกัก เช่น ความลึกของดิน เนื้อดิน และความซึมน้ าหรือ
ความสามารถของดินที่ให้น้ าซึมผ่าน (Permeability) ในระดับความลึก 1 เมตร ซึ่งมีผลต่อปริมาณการไหลซึม
ของน้ า (Seepage) และปริมาณของก้อนหินจะมีผลต่อความยากง่ายในการขุด
การศึกษาความเหมาะสมของดินส าหรับสร้างสระน้ าในไร่นาของประเทศไทย พิจารณาจากสมบัติ
ของดินในระดับชุดดิน โดยประเมินจากความซึมน้ า (Permeability) ของชุดดินต่างๆ ในประเทศไทยจ านวน
308 ชุดดิน เพื่อน ามาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดระดับความเหมาะสมของดินส าหรับสร้างสระน้ า โดย
สามารถแบ่งตามความเหมาะสมการซึมน้ าของดินได้ 6 ระดับ ดังนี้
1. เหมาะสมดี มี 93 ชุดดิน พบในสภาพพื้นที่ลุ่ม ดินทั้งหมดมีความซึมน้ าช้าถึงช้ามาก จึงไม่ค่อย
มีปัญหาเกี่ยวกับความซึมน้ า ถ้าต้องการสร้างแหล่งน้ า ดินตามชั้นขนาดอนุภาคดินเป็นพวกดินเหนียว
ละเอียดมาก ดินเหนียวละเอียด ดินทรายแป้งละเอียด และดินเหนียวปนกรวดลูกรัง โดยที่ระดับความลึก 1
เมตรมีค่าความซึมน้ า น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
2. เหมาะสมดี-ไม่เหมาะสม พบทั้งในสภาพพื้นที่ลุ่มและที่ดอน ท าให้ระดับความเหมาะสมของดิน
มีตั้งแต่เหมาะสมดีถึงไม่เหมาะสม ดินเป็นพวกดินเหนียวถึงดินทราย