Page 12 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรกรรม นับว่าเป็นงานที่มีความส าคัญและมีประโยชน์ส าหรับ
เกษตรกรของประเทศที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ประเทศไทยในปัจจุบันมีพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่นอก
เขตชลประทาน โดยอาศัยเพียงน้ าจากแหล่งน้ าธรรมชาติและน้ าฝน ท าให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ า มีน้ าใช้
เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอตลอดทั้งปี ส่งผลให้ได้ผลิตผลไม่ดีเท่าที่ควรหรือท าให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความ
เสียหายอยู่บ่อยครั้ง
ประเทศไทยมีพื้นที่ท าการเกษตร 149.25 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.54 ของเนื้อที่ประเทศไทยซึ่งมี
อยู่ทั้งสิ้น 320.69 ล้านไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563) พื้นที่เขตชลประทาน 33.79 ล้านไร่ (กรม
ชลประทาน, 2563) ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรอีกจ านวนมากที่ได้รับปัญหาการขาดแคลนน้ า เมื่อประกอบกับสภาพ
ภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันจึงท าให้เกิดเป็นปัญหาด้านความแห้งแล้งเป็นวงกว้าง
ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขโดยการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน การสร้างแหล่งน้ าต่าง ๆ เช่น การสร้าง
อ่างเก็บน้ าขนาดเล็ก สระน้ าในไร่นา เป็นต้น แต่ปัญหาที่พบตามมาคือ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนา
แหล่งน้ า เนื่องจากในการสร้างแหล่งน้ าในบางพื้นที่นั้น พบปัญหาคือ ไม่สามารถเก็บกักน้ าได้ น้ ามีความเค็ม
ปริมาณน้ าที่เข้าสู่สระเพื่อเก็บกักมีปริมาณน้อย เป็นต้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน จัดท าโครงการแหล่งน้ าในไร่นานอก
เขตชลประทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบรรเทาสภาพปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ า และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ าในพื้นที่ท าการเกษตร ซึ่งเกษตรจะต้องยื่นความจ านงความต้องการแหล่งน้ าใน
ไร่นา โดยขุดสระน้ าขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย 2,500
บาท/สระ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2548 – ปัจจุบัน กรมพัฒนาที่ท าการขุดสระน้ าในไร่นา 456,143 สระ มีค่าพิกัด
456,020 สระ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2564) แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในเรื่องของปริมาณน้ าที่ได้รับจากการขุดสระ
หลังจากฝนตกและในช่วงฤดูแล้งน้ าในสระคงเหลือปริมาณมากน้อยเพียงใด และการศึกษาถึงความชื้นดินที่
เกิดขึ้นหลังจากขุดสระ รวมไปถึงผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ง่ายต่อการสูญเสียน้ าและภาวะโลกร้อนจาก
การระเหยของน้ าตลอดฤดูการเพาะปลูกของเกษตรกร ดังนั้นการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ส าหรับการ
สร้างสระน้ าในไร่นาจะสามารถช่วยในการตัดสินใจในการเลือกพื้นที่เพื่อการก่อสร้างแหล่งน้ าขนาดเล็ก
โดยเฉพาะสระน้ าในไร่นาได้ ซึ่งจากการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการสร้างสระน้ าในไร่นา โดยใช้ภาพถ่าย
ดาวเทียมคุณภาพสูง THEOS และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ช่วยประมวลผลและประเมินปริมาณน้ าในไร่นา
ให้แก่เกษตรกร ตลอดฤดูเพาะปลูกได้อย่างทันท่วงทีและเพื่อให้เกษตรกรจะสามารถปรับตัวเพื่อเตรียมความ
พร้อมต่อการวางแผนการใช้น้ าเพื่อการเกษตรต่อไป