Page 19 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8

                   ต้นลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ท าให้มีความแตกต่างของระดับสีในภาพขาวด า และภาพสีผสม ท าให้
                   เราสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมที่ถ่ายซ้ าที่เดิมในช่วงเวลาต่างๆ มาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น สามารถ

                   ติดตามการบุกรุกท าลายป่าการเติบโตของพืชตั้งแต่ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

                          การจ้าแนกประเภทข้อมูลภาพ (Image  classification)  การจ าแนกประเภทข้อมูลภาพเป็นการ
                   ประมวลผลในทางสถิติ เพื่อแยกข้อมูลจุดภาพทั้งหมดที่ประกอบเป็นพื้นที่ศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย โดยใช้
                   ลักษณะทางสถิติเป็นตัวก าหนดความแตกต่างระหว่างกลุ่มจุดภาพ โดยจุดภาพที่ถูกจัดให้อยู่กลุ่มเดียวกันจะมี
                   ลักษณะทางสถิติเฉพาะกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ละกลุ่มจุดภาพที่จ าแนกได้นั้นจะแสดงถึงสิ่งปกคลุม

                   พื้นดินประเภทใดประเภทหนึ่งแตกต่างกันไป การจ าแนกประเภทข้อมูลภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออก
                   ได้เป็น 2 วิธี คือ การจ าแนกประเภทข้อมูลภาพแบบควบคุม (Supervised classification) และการจ าแนก
                   ประเภทข้อมูลภาพแบบไม่ควบคุม (Unsupervised classification)

                          1. การจ าแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุม (Supervised classification)
                             การจ าแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุม เป็นการจ าแนกประเภทข้อมูลที่ผู้ใช้งานเป็นผู้ก าหนด
                   ลักษณะของประเภทข้อมูลเอง โดยเป็นผู้เลือกตัวอย่างประเภทข้อมูลให้แก่เครื่อง จึงเรียกการจ าแนกข้อมูล
                   ประเภทนี้ว่าเป็นวิธีแบบควบคุมโดยผู้วิเคราะห์ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด ข้อมูลตัวแทนหรือข้อมูลตัวอย่างที่

                   ผู้ใช้งานเป็นผู้ก าหนดนั้นได้จากการตีความหมายภาพดาวเทียมที่ถูกต้องด้วยสายตาโดยอาศัยประสบการณ์
                   ความเข้าใจและความรู้ที่มีอยู่ ตลอดจนกระบวนการต่างๆ ในการตีความหมาย เช่น การส ารวจภาคสนาม การ
                   ใช้แผนที่ภาพถ่ายต่างๆ และสถิติอื่นๆ เป็นต้นทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความหมายถูกต้องตามระบบการ
                   จ าแนก ตัวอย่างที่เลือกเป็นข้อมูลทางสถิติที่ก าหนดคุณลักษณะของข้อมูล ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะน า

                   คุณลักษณะทางสถิติของพื้นที่ตัวอย่างนั้นไปท าการประมวลผลแล้วจ าแนกแต่ละจุดภาพของข้อมูลดาวเทียม
                   ให้เป็นประเภทข้อมูลตามที่ผู้ใช้งานก าหนดไว้ตามพื้นที่ตัวอย่าง ซึ่งความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของ
                   การจ าแนกวิธีนี้ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของพื้นที่ตัวอย่างว่ามีความหลากหลายครอบคลุมทุกประเภทข้อมูล
                   หรือไม่และเป็นตัวแทนของประชากรข้อมูลทุกประเภทหรือไม่ วิธีการนี้ผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้ในพื้นที่ศึกษา

                   เป็นอย่างดี โดยศึกษาจากข้อมูลเสริมประกอบตลอดจนการสังเกตลักษณะเชิงกายภาพ (Physical
                   characteristics) ของประเภทข้อมูล
                          2. การจ าแนกประเภทข้อมูลแบบไม่ควบคุม (Unsupervised classification)

                             เป็นวิธีการจ าแนกประเภทข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ไม่ต้องก าหนดพื้นที่ตัวอย่างของข้อมูลแต่ละประเภท
                   ให้กับคอมพิวเตอร์ มักจะใช้ในกรณีไม่มีข้อมูลเพียงพอในพื้นที่ที่ท าการจ าแนก หรือผู้ใช้ไม่มีความรู้ความเคย
                   ชินในพื้นที่ศึกษาวิธีการนี้สามารถท าได้โดยสุ่มตัวอย่างแบบคละ แล้วจึงน ากลุ่มข้อมูลดังกล่าว มาแบ่งเป็น
                   ประเภทต่างๆ โดยแต่ละประเภทมีลักษณะเชิงคลื่นที่เหมือนกัน โดยใช้เทคนิคการรวมกลุ่ม (Clustering)
                   (ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, 2552)


                          ดาวเทียมธีออส (Thailand Earth Observation System: THEOS) ดาวเทียมส ารวจทรัพยากร
                   ดวงแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเชิงแสงไว้ 2 แบบ ได้แก่ กล้องระบบช่วงคลื่น
                   เดียว (Panchromatic     - PAN) ซึ่งให้รายละเอียดภาพถึง 2 เมตร และกล้องระบบหลายช่วงคลื่น
                   (Multispactral  camera  - MS) ที่สามารถบันทึกภาพได้ 4 ช่วงคลื่น มีความกว้างของแนวถ่ายภาพ 90

                   กิโลเมตร โดยสามารถก าหนดค่าตัวแปรในการรับและผลิตข้อมูลได้หลากหลาย ยังผลให้ภาพจากดาวเทียมธี
                   ออสเหมาะที่จะน าไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ เช่น
                          1. การติดตามการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณหนึ่ง อาศัยข้อมูลภาพถ่าย
                   ดาวเทียมในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน มาวิเคราะห์ แปลข้อมูลด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24