Page 20 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
ถูกน ามาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ท าให้ทราบวัฏจักรการใช้ที่ดินในพื้นที่หนึ่ง ๆ และการ
เปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืช อย่างเป็นรูปธรรม
2. การชลประทานก็สามารถน าข้อมูลดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการ
ติดตามสถานการณ์น้ า การคาดการณ์การเกิดความแห้งแล้ง น้ าไม่พอเพียงส าหรับการเกษตรกรรม ซึ่งข้อมูล
ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถน าไปวางแผนส่งเสริมการเพาะปลูกพืชได้ รวมทั้งการติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่
เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
3. การศึกษาพื้นที่เพาะปลูกพืช ด้วยอาศัยคุณสมบัติของดาวเทียมธีออส ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบ
หลายช่วงคลื่น ท า ให้เราสามารถน า ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าวมาหาค่าความชื้นในดินหาดัชนีพืช
พรรณ (NDVI: Normalized Difference Vegetation Index) ตลอดจนการจ าแนกอายุของพืชเศรษฐกิจที่
ส าคัญ เช่น ยางพารา สับปะรด ข้าว มันส าปะหลัง เป็นต้น
4. การส ารวจการระบาดของศัตรูพืช อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมจ าแนกอาการเสื่อมโทรม
ของพืช ที่ปรากฏอาการทางด้านกายภาพ เช่น ทางใบ ทางเรือนยอด จากการสะท้อนพลังงานคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าของพืชและบันทึกข้อมูลออกมาในภาพถ่ายดาวเทียม สามารถติดตามแนวโน้มการระบาดและ
การประมาณการความเสียหายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส ารวจการระบาดของศัตรูพืชในสวน
ส้ม นาข้าว เป็นต้น
ตารางที่ 1 ความยาวคลื่นในระบบการถ่ายแบบหลายช่วงคลื่น
ความยาวคลื่น
แบนด์ ช่วงคลื่น ศักยภาพการใช้ประโยชน์
(ไมโครเมตร)
1 น้ าเงิน 0.45 – 0.52 ใช้ ตรวจสอบลักษณะน้ าตามชายฝั่งแสดงความแตกต่าง หรือ
ใช้แยกประเภทต้นไม้ชนิดผลัด ใบและไม่ผลัดใบออกจากกัน
แสดงความแตกต่างหรือแยกดินจากพืชพรรณต่าง ๆ ที่มี
ความไวต่อการมีหรือไม่มีคลอโรฟิลล์
2 เขียว 0.52 – 0.60 แสดงการสะท้อนพลังงานสีเขียวจากพืชพรรณที่เจริญ เติบโต
แล้ว
3 แดง 0.63 – 0.69 แสดงความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟิลล์ในพืชพรรณ
ชนิดต่าง ๆ กัน
4 อินฟราเรดใกล้ 0.76 – 0.90 ใช้ตรวจวัดปริมาณมวลชีวะ แสดงความแตกต่างของน้ า และ
ส่วนที่ไม่ใช้น้ า
ที่มา: ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (2552)