Page 14 - การประเมินประสิทธิภาพของสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรทั่วประเทศจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง The Performance of Farm Pond Impactsof extreme Climate Change.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            3

                   การคัดเลือกพื นที่เป้าหมาย

                          1. พื้นที่ซึ่งจะด าเนินการก่อสร้างแหล่งน้ าในไร่นานอกเขตชลประทานขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร

                   ต้องเป็นของเกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองที่ดิน หรือเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดิน โดยต้องมีหลักฐานเอกสารสิทธิ์
                   ที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้ออกให้ ได้แก่ โฉนด น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.2 น.ส.2 ก. ส.ป.ก. 4-01 ส.ป.ก.4-14 ส.ป.ก.4-
                   18 น.ค.3 ก.ส.น.5 ส.ค.1 คทช. และพื้นที่โครงการพระราชด าริที่มีการจัดสรรที่ดินท ากินให้เกษตรกรส าหรับ
                   น.ส.2 และ น.ส.2 ก. ต้องมีการตรวจสอบ ดังนี้
                                 1.1 ผู้มีความประสงค์จะให้กรมพัฒนาที่ดินด าเนินการขุดสระน้ าต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้

                   มีสิทธิตามเอกสารสิทธิในที่ดินประเภทใบจอง เว้นแต่กรณีผู้มีสิทธิดังกล่าวเสียชีวิตแล้วผู้รับมรดกโดยชอบด้วย
                   กฎหมายอาจเป็นผู้ยื่นค าขอดังกล่าวแทนได้ (เอกสารสิทธิประเภทใบจองไม่สามารถท าการซื้อขายหรือให้โดย
                   เสน่หาได้)

                                 1.2 ต้องมีการตรวจสอบว่าผู้รับใบจองหรือผู้รับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายได้เข้าท า
                   ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจริง
                          2. เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานขาดแคลนระบบที่จะจัดส่งน้ าไปถึงได้ตลอดปีและประสบปัญหา
                   ขาดแคลนน้ าเป็นประจ าหรือแล้งซ้ าซาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่หรือสอบถาม

                   เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานในพื้นที่ โดยสถานีพัฒนาที่ดินควรจะมีการท ารายงานบันทึกข้อสังเกตไว้
                          3. คัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างแหล่งน้ าในไร่นานอกเขตชลประทานตามเงื่อนไขของโครงการเป็นล าดับแรก
                   คือเป็นพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ า โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของดิน หลีกเลี่ยงพื้นที่เป็นดินทราย
                   จัด พื้นที่เกลือขึ้นเป็นดินเค็ม พื้นที่ซึ่งมีก้อนหินขนาดใหญ่ ซึ่งหากก่อสร้างไปจะท าให้ไม่สามารถเก็บกักน้ าไว้

                   ใช้ได้นานและคุณภาพน้ าไม่ดี และควรพักการปลูกพืช เพื่อความสะดวกในการเข้าไปด าเนินการก่อสร้าง โดย
                   เจ้าหน้าที่บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสาจะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่คัดเลือกและ
                   สอบถามเกษตรกร
                          4. พื้นที่ด าเนินการควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30x40 ตารางเมตร โดยจะใช้ก่อสร้างสระอย่างน้อย

                   20x30x2.1 เมตร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถท างานได้โดยสะดวกและสามารถท าการเกลี่ยดิน ตกแต่งคันสระ
                   ได้อย่างเรียบร้อย
                          ทั้งนี้พื้นที่ด าเนินการควรมีการจัดกลุ่มเป้าหมายการจัดสรรพื้นที่ก่อสร้างให้มีขนาดของกลุ่ม และการ

                   กระจายตัวของสระเก็บน้ าให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการเครื่องจักรกล ได้แก่ การจัดชุด เครื่องจักรกล
                   เข้าท างาน การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรกลให้มีขนาดเหมาะสมกับระดับเศรษฐกิจ (Economy of Scale) ซึ่งจะ
                   มีผลต่อการด าเนินการที่ทันเวลาและคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งในเขตพัฒนาที่ดินและยุทธศาสตร์จังหวัดอย่าง
                   สัมฤทธิ์ผล

                   รูปแบบการก่อสร้างแหล่งน ้า

                          กรมพัฒนาที่ดินได้ออกแบบสระเก็บน้ าขนาดมาตรฐานความจุ 1,260 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีให้เลือก 2

                   รูปแบบ เป็นรูปตัว L และรูปตัว I พร้อมหลักเกณฑ์ในการค านวณปริมาณงานดินขุด
                          การขุดดินให้ได้ขนาดความกว้าง ความยาว ความลึก ความลาดด้านข้าง ตามที่ก าหนดมีวัตถุประสงค์
                   เพื่อเป็นที่เก็บกักน้ าโดยมีข้อก าหนดลาดด้านข้างตามคุณสมบัติของดินดังนี้
                          1.  ลาดด้านข้าง การขุดดินจะต้องมีความมั่นคงไม่เกิดการลื่นไถลของตลิ่ง การก าหนดความลาด

                   ด้านข้างขึ้นอยู่กับชนิดดิน
                          2.  ความลึก การขุดดินไม่ควรเกิน 3  เมตร ในแต่ละขั้น ถ้าลึกเกินต้องท าชานพักตัวความมั่นคงและ
                   ความสะดวกในการก่อสร้าง (กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2558)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19