Page 36 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
กระบวนการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจายไปกับน้ำไหลบ่าหน้าดิน (soil transportation phase) อันเป็น
แนวคิดของแบบจำลอง MMF ซึ่งมีวิธีการศึกษาดังนี้
(5.1) การประเมินการแตกกระจายของดินอันเนื่องมาจากฝน (soil detachment phase)
การจัดทำแผนที่ปริมาณการแตกกระจายของเม็ดดิน (soil detachment) ทำได้โดยการคำนวณ
พลังงานของน้ำฝนที่จะก่อให้เกิดการแตกกระจายของเม็ดดิน แล้วนำพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นมาประเมินปริมาณ
ดินที่กระจายออกเป็นเม็ดดิน ซึ่งมีขั้นตอนในการศึกษาดังนี้
- การหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝน (kinetic energy of rainfall)
การหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่จะก่อให้เกิดการแตกตัวของดิน ในที่นี้ได้ใช้สมการของ Hudson
ที่ได้ทำการทดลองหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝนในประเทศ Zimbabwe ซึ่งสมการของ Hudson นี้ได้พัฒนาขึ้น
เพื่อให้เหมาะสำหรับการใช้กับประเทศในเขตร้อนชื้น
การวิเคราะห์ทำโดยการนำข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (annual rainfall) ในหน่วยมิลลิเมตร และ
ข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (rainfall intensity) ในหน่วยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง ที่อยู่ในรูป
ข้อมูลแบบ raster ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร มาทำการวิเคราะห์ตามสมการของ Hudson
เพื่อที่จะได้ข้อมูลพลังงานจลน์ของฝน (kinetic energy of rainfall) ในหน่วยจูลต่อตารางเมตร ในรูปข้อมูล
แบบ raster ที่ขนาดมี grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร สมการการหาพลังงานจลน์ของฝน คือ
E = R [29.8 + (127.5 / I)]
E = พลังงานจลน์ของฝน (kinetic energy of rainfall) ในหน่วย จูลต่อตารางเมตร
R = ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (annual rainfall) ในหน่วย มิลลิเมตร
I = ข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (rainfall intensity) ในหน่วย มิลลิเมตรต่อชั่วโมง
- การหาปริมาณเม็ดดินที่แตกกระจาย (soil detachment)
การหาปริมาณเม็ดดินที่แตกกระจายจากพลังงานของเม็ดฝน เป็นการใช้ข้อมูลดัชนีความคงทน
ของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน (soil detachability index: K) ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้
(crop interception percent factor: A) และข้อมูลพลังงานจลน์ของฝน (Kinetic energy of rainfall)
ที่อยู่ในรูป raster ที่ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร มาทำการวิเคราะห์ตามสมการเพื่อให้ได้
ปริมาณเม็ดดินที่แตกกระจาย (soil detachment) ซึ่งสมการที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังนี้
D= K.(E exp )b.10
-aA
-3
D = ปริมาณเม็ดดินที่แตกกระจาย (soil detachment) ในหน่วย กิโลกรัมต่อตารางเมตร
K = ดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน (soil detachability index) ในหน่วย กรัมต่อจูล
E = พลังงานจลน์ของฝน (Kinetic energy of rainfall) ในหน่วย จูลต่อตารางเมตร
A = ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้ (crop interception percent factor)
a = 0.05
b = 1.0