Page 11 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            6


                   2. สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย


                         ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยชนิดหนึ่ง ผลผลิตร้อยละ 95 ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร
                   สัตว์เพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 8 หมื่นล้านบาทต่อปี เกษตรกรผู้ผลิต
                   ประมาณ 404,941 ครัวเรือน สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย ปี 2559/60 มีพื้นที่เพาะปลูก 7.03
                   ล้านไร่ ปลูกในพื้นที่เหมาะสมและถูกต้อง 3.30 ล้านไร่ ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม 0.70 ล้านไร่ ปลูกในพื้นที่ป่า 3.67

                   ล้านไร่ ผลผลิต 4.62 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.01 ล้านตัน จากปีที่ผ่านมา และมีต้นทุนการผลิต 6.81 บาทต่อกิโลกรัม มี
                   ความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559/60 มีความต้องการใช้สูงถึง 7.41 ล้านตัน ขณะที่
                   ผลิตได้เพียง 4.62 ล้านตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ





                               7.48        7.4         7.53        7.43       7.23        7.15        7.03  7.41



                                                                                               5.72

                                 4.86  4.28  4.97  4.23  4.95  4.67  4.88  4.72  4.73  5.04  4.61        4.62


                         จ้านวน













                           2 5 5 3 /5 4  2 5 5 4 /5 5  2 5 5 5 /5 6  2 5 5 6 /5 7  2 5 5 7 /5 8  2 5 5 8 /5 9  2 5 5 9 /6 0


                              พื้นที่ปลูก (ล้านไร่)  ผลผลิต (ล้านตัน)  ความต้องการ (ล้านตัน)  Linear (ความต้องการ (ล้านตัน))

                   ภาพที่ 1 พื้นที่ปลูก ผลผลิต และความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2553-2560

                          จากข้อมูลปี 2559/60 พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวม 7.03 ล้านไร่ เป็นพื้นที่บุกรุกป่า 3.67 ล้านไร่ คิดเป็น
                   ร้อยละ 52 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีเศษวัสดุเหลือทิ้ง ได้แก่ เปลือก และซังข้าวโพด

                   และส่วนอื่น ๆ ซึ่งไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปล่อยไว้และรอเผาทิ้งในช่วงเดือนมกราคม-
                   เมษายน ของทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดควันจากการเผาไหม้ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก และสุขภาพประชาชนในชุมชนที่
                   อาศัยในพื้นที่ และเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาหมอกควัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย จากการประเมินพบว่า จะ
                   มีปริมาณซังข้าวโพดเหลือทิ้งจำนวน 1.2 ล้านตันต่อปี เปลือกข้าวโพดจำนวน 3.1 แสนตันต่อปี หรือคิดเป็น 25
                   เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560)

                   3. สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                          จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผืนป่าต้นน้ำแม่แจ่มถูกแปรสภาพเป็น

                   พื้นที่ทำกินมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะช่วงปี 2552 - 2554 และปี 2557 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม ถูกแปร
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16