Page 14 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            9

                          การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคเกษตร
                          1) การสลายตัวของเศษพืชและอินทรีย์คาร์บอนในดินซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของการไถพรวน
                          2) กระบวนการผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

                          3) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องจักรกลทางการเกษตร
                          4) การเผาไหม้หรือหายใจของสิ่งมีชีวิตจากกระบวนการกักเก็บมาจากการสังเคราะห์แสงและการกักเก็บ
                   คาร์บอนในดิน
                          การลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากดินสามารถทำได้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการไถพรวน การกัก
                   เก็บคาร์บอนในทางเกษตรสามารถทำได้จากการลดการชะล้างพังทลายของดิน เพิ่มคันดิน และเพิ่มความสามารถใน
                   การกักเก็บน้ำในดิน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ สามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในดิน เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
                   สามารถแสดงให้เห็นได้จากอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิในบรรยากาศ ผลการประเมินแสดงให้เห็นถึงผลกระทบ

                   ของคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยในระบบนิเวศวิทยาจากการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น การ
                   ชลประทาน การใส่ปุ๋ย และการใช้สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น  การกักเก็บและการปลดปล่อยคาร์บอนสามารถ
                   คาดคะเนได้จากการหมุนเวียนคาร์บอนทั้งหมดในระบบ ซึ่งการวิเคราะห์ในระบบนิเวศวิทยาต้องกำหนดขอบเขตที่แน่
                   ชัดเพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกสู่บรรยากาศจะแสดงค่าเป็นบวก และ
                   จะเป็นค่าลบเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ สำหรับการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                   คาร์บอน
                   6. การจัดการธาตุอาหาร
                          การจัดการธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืช สามารถทำได้หลายวิธี สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ได้นำวิธีการ
                   จัดการธาตุอาหารมาใช้ดังนี้

                          6.1 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Thai Soil Fertility Management
                              โปรแกรมสำเร็จรูป Thai Soil Fertility Management (TSFM) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นเพื่อ
                   เป็นแนวทางในการจัดการดิน น้ำ และพืชเศรษฐกิจ ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของชุดดิน ซึ่งใน
                   แต่ละชุดดินจะมีสมบัติทั้งทางด้านกายภาพและทางเคมี ความเหมาะสมในการปลูกพืชชนิดต่างๆ และในกระบวนการ
                   ทำเกษตรกรรมของเกษตรกร การใส่ปุ๋ยส่วนใหญ่จะใส่ตามคำแนะนำตามหลักวิชาการ และในบางครั้งใส่ตามความ
                   เคยชินเหมือนที่เคยปฏิบัติมา โดยปราศจากการนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์สมบัติดิน เนื่องจากความวิตกกังวลในเรื่อง
                   ของค่าใช้จ่าย และเสียเวลา ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวได้รับการจดสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2556

                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
                              โปรแกรมสำเร็จรูป Thai Soil Fertility Management (TSFM) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถ
                   แสดงสมบัติของดิน การกระจายตัวของแต่ละชุดดินและภาพหน้าตัดของดินในแต่ละชุดดินในประเทศ
                   สามารถแสดงมาตรการในการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อย่างเหมาะสมและประหยัด การจัดการดิน ปริมาณความ
                   ต้องการปูนทางการเกษตร การบริหารจัดการน้ำของพืช และการจัดการพืชเศรษฐกิจหลักกว่า 60 ชนิด ในแต่ละ
                   ภูมิภาคทั่วประเทศ ใช้เทคโนโลยีการสำรวจและรับส่งข้อมูลระยะไกล แบบ real time เป็นการจัดการข้อมูล เพื่อให้
                   สามารถรับรู้ข้อมูลหรือสภาพของกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างรวดเร็ว และสามารถตัดสินใจด้านการ
                   บริหารได้อย่างทันท่วงที
                                 การนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จะเกิดประโยชน์อย่างมากในการแนะนำการ

                   จัดการพืช ดิน น้ำ และปุ๋ย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความต้องการของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง
                   เปลี่ยนวิธีการจัดการดินและปุ๋ย ลดการใช้และนำเข้าปุ๋ยเคมี โดยเน้นความประหยัดและความยั่งยืน มีขั้นตอนการหา
                   สูตรปุ๋ยและปริมาณที่ใช้ให้เหมาะสมกับพืชและสภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูก
                                   1) ปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่เพิ่ม เท่ากับผลต่างของปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการกับปริมาณธาตุ
                   อาหารที่มีอยู่ในดิน
                                   2) หาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสม โดยเทียบสัดส่วน N, P, K ที่ต้องใส่เพิ่ม กับสูตรปุ๋ยผสมสำเร็จรูปใน
                   ท้องตลาด
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19