Page 6 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            1


                                                        หลักการและเหตุผล



                          ประเทศไทยประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร และ
                   หมอกควันข้ามแดนโดยเฉพาะพื้นที่เกษตรภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก
                   ในอากาศเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป การขนส่งทางอากาศ การ
                   ท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ สาเหตุสำคัญของการเผาเศษวัสดุในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้ประโยชน์เพื่อปลูกข้าว

                   ข้าวโพด และอ้อย เพื่อเตรียมแปลงปลูกพืชในฤดูถัดไป การเผาและบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยง
                   สัตว์ อีกเหตุผลหนึ่งของการที่เกษตรกรเลือกใช้วิธีการกำจัดเศษวัสดุโดยวิธีการเผา เนื่องจากการไถเตรียมพื้นที่ปลูก
                   ด้วยรถแทรกเตอร์นั้น มีค่าใช้จ่ายสูง ผลกระทบที่ตามมาเป็นการสร้างก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
                   สร้างมลพิษทางอากาศนำไปสู่ภาวะโลกร้อน ทำให้พื้นที่เสื่อมโทรม ดินสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน
                   ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสม ทำลายห่วงโซ่อาหาร เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

                          การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออก ในปี 2559
                   มีมูลค่า 4,855.34 ล้านบาท ผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 382,014 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยง
                   สัตว์ในภาพรวม 4.39 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 4.39 ล้านตัน คิดเป็นผลผลิตเฉลี่ย 676 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่
                   นำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ และมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของ
                   ภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) นอกจากนี้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ
                   เกษตรกรประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูงและมีความแปรปรวน ในปี 2559 ต้นทุนการผลิต 6,640 บาทต่อตัน

                   เกษตรกรยังขาดความรู้การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อนปลูก การบริหารจัดการแปลงปลูกที่ดี เกษตรกรในพื้นที่มี
                   การเผาตอซังข้าวโพด หลังจากเก็บเกี่ยว หรือก่อนปลูกในฤดูถัดไปเพื่อต้องการลดต้นทุนค่าแรงงานในการกำจัดตอซัง
                   และวัชพืช ทำให้เกิดหมอกควันและส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชนเป็น
                   วงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรโดยตรง พื้นดินที่โล่งเตียนจากการเผาไร่ เสมือนว่าจะช่วยเกษตรกรลด
                   ต้นทุนในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกไปได้มากและรวดเร็ว แต่ความร้อนจากการเผาทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ใน
                   ดิน และอินทรียวัตถุบริเวณหน้าดินถูกทำลาย หน้าดินถูกชะล้างโดยลมและฝนทุกปี กลับทำให้เกษตรกรมีต้นทุนที่
                   เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่เป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มผลผลิต  จากการศึกษาของทัศนีย์ และคณะ, 2554

                   รายงานว่าเกษตรกรร้อยละ 64.9 ใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพดเฉลี่ย 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 54.4 ใส่
                   ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย 46-0-0 และร้อยละ 33.3 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 เพียงครั้งเดียว
                   ในขณะที่ผลการสำรวจของ วีรชัย และคณะ (2552) พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราเพียง 30-100
                   กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิต แสดงให้เห็นถึงการจัดการปุ๋ยและธาตุอาหารไม่เหมาะสม
                   ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับลักษณะดินหรือชนิดของ
                   ดิน โดยคำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารเดิมที่มีอยู่ในดิน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552) ร่วมกับการจัดการดินและน้ำ
                   อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและลดการนำเข้าปุ๋ยเคมี โดยเน้นความประหยัด
                   และลดผลกระทบจากการเผาตอซังข้าวโพดในพื้นที่

                          ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีแนวคิดในการศึกษาผลของการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพดและคาร์บอน
                   ในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาวิกฤตหมอกควัน จากการเผาเศษวัสดุทาง

                   การเกษตร ประกอบกับแนวคิดการบริหารจัดการดิน น้ำ และปุ๋ยอย่างเหมาะสม จะสามารถลดต้นทุนและเพิ่ม
                   ผลผลิตพืช โดยปราศจากการเผาตอซังข้าวโพด ซึ่งนอกจากจะสามารถลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังช่วยลดมลพิษทาง
                   สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11