Page 12 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            7

                   สภาพเป็นไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 86,304 ไร่ เป็น 105,465 ไร่ ในปี 2554 และเป็น 144,880.25 ไร่ ในปี
                   2556 โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในปีเดียวกันมากถึง 8,332 ราย ให้ผลผลิต 100,547 ตันต่อปี ปี 2557 ราคา
                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำ เกษตรกรบางส่วนหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน (เช่น ยางพารา ฟักทอง หอมแดง และ

                   กะหล่ำปลี) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูฝนจึงลดลงเหลือ 118,719 ไร่ ให้ผลผลิต 83,103 ตันต่อปี มีเกษตรกรผู้
                   ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงเหลือจำนวน 7,427 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.35 ของครัวเรือนทั้งหมด (17,131 ครัวเรือน)
                   ซึ่งหมายความว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผกผันกับราคาในแต่ละปี หากปีไหนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำ ปีถัด
                   มาพื้นที่ปลูกข้าวโพดก็จะลดลงตามไปด้วย แต่ถ้าปีไหนราคาดี ปีถัดมาพื้นที่ปลูกข้าวโพดก็จะเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน















































                   ภาพที่ 3 แสดงจุดความร้อนจากการเผาไหม้ ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2558

                          จากข้อมูลส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 9
                   มีนาคม 2558 ตรวจพบจุดความร้อนจากการเผาไหม้ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม 319 จุด ดังภาพที่ 3  สูงกว่าอำเภออื่นใน
                   จังหวัดเชียงใหม่ จนทำให้เกิดมลพิษและปัญหาหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรงและ
                   กว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่เกษตรกรเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี ในปี พ.ศ.
                   2559 จุดความร้อนสะสม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม -31 พฤษภาคม 2559 (รายเดือน) รวม 27,702 จุด แยกตามการ

                   ใช้ประโยชน์ที่ดิน พบจุดความร้อนส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่วนจุดความร้อนที่พบในพื้นที่เกษตรพบว่ามี
                   จำนวน 6,050 จุด ดังตารางที่ 2
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17