Page 16 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           11

                   และโพแทสเซียม 0.83 ปริมาณฟอสฟอรัสส่วนที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ 1)
                   ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 2) ปริมาณเหล็ก อลูมินัม และแมงกานีสที่ละลายอยู่ในดิน 3) ชนิดและปริมาณของแร่
                   ดินเหนียวที่มีเหล็ก อลูมินัม และแมงกานีสเป็นองค์ประกอบ 4) ปริมาณธาตุแคลเซียม และ 5) อัตราการสลายตัวของ

                   อินทรียวัตถุซึ่งเป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน โดยขึ้นอยู่กับความตื่นตัวของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดิน โดยปัจจัยที่กล่าวถึง
                   ทั้งหมดนี้ pH ของดินเป็นปัจจัยที่มีบทบาทมากที่สุดต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดิน ซึ่งมีค่าระดับ
                   ฟอสฟอรัสในดิน
                          7.6 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available Potassium) เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการปริมาณมาก
                   และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ในกิจกรรมสร้างและเคลื่อนย้ายน้ำตาล การสังเคราะห์แสงและการหายใจ รวม
                                                                                                         +
                   ไปถึงกลไกอื่น ๆ โพแทสเซียมในดินมีอยู่ในรูปต่อไปนี้ คือ 1) รูปของไอออนอิสระในสารละลายดิน (Soluble K ) 2)
                                                          +
                   รูปของไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable K ) โดยอยู่ที่ผิวของแร่ดินเหนียวและบางส่วนมีอยู่ที่อินทรียวัตถุ 3)
                   รูปที่ถูกจับยึดไว้ชั่วคราวระหว่างชั้นของแร่ดินเหนียวจำพวกอิลไลท์ (Illite) และมอนต์โมริลโลไนท์
                   (Montmorillonite) และ 4) องค์ประกอบของแร่ปฐมภูมิและแร่ทุติยภูมิ (Primary minerals และ Secondary
                   minerals) ซึ่งมีค่าระดับโพแทสเซียมในดิน
                          7.7 ปริมาณแคลเซียมในดิน (Calcium: Ca) เป็นธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีหน้าที่ควบคุม
                   การละลายของเกลือและความสมดุลของกรดอินทรีย์ต่าง ๆ ในเซลล์ ช่วยเรื่องการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของ
                   ส่วนยอด ส่วนที่ยังอ่อนของพืช รวมทั้งปลายราก ช่วยควบคุมการดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ทั้งยังช่วย
                   ส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และในบางกรณีที่พืชอาจได้รับสารซึ่งเป็นพิษมาก
                   เกินไป เช่น พวกกรดอินทรีย์ต่าง ๆ หรือมีธาตุทองแดงในพืชมาก พิษนั้นจะหายไปเมื่อพืชมีปริมาณธาตุแคลเซียม
                   เพียงพอ ซึ่งมีค่าปริมาณแคลเซียมในดิน
                          7.8 ค่าปริมาณแมกนีเซียมในดิน (Magnesium: Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ส่วนที่เป็นสีเขียว

                   ของพืช มีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช ช่วยระบบการทำงานของเอนไซม์ สร้างและเปลี่ยนไขมัน
                   ช่วยการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในต้นพืชโดยเป็นตัวนำธาตุอาหารฟอสฟอรัสจากส่วนรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และ
                   เป็นตัวควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช การขาดธาตุแมกนีเซียมจะทำให้ผลผลิตลดลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้
                   ชัด และใบพืชมักมีสีเหลืองซีด สาเหตุที่สำคัญมาจากการที่ปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่
                   รากพืชจะดูดดึงมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสะสมในดินมากเกินไป ซึ่งการแก้ไข สามารถทำได้โดย
                   การปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม
                   ที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

                   ทันที ซึ่งมีค่าปริมาณแมกนีเซียมในดิน
                          7.9 ค่าความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ (Available water capacity: AWCA) คือ ผลต่างของระดับความจุ
                   ความชื้นสนาม (Filed capacity: FC) กับจุดเหี่ยวถาวร (Permanent wilting point: PWP) ซึ่งมีค่าความจุความชื้น
                   ที่เป็นประโยชน์
                                 1) ความจุความชื้นสนาม คือ ระดับความชื้นของดินที่ยังคงเหลืออยู่ เมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้ว 2-3
                   วัน หลังจากที่ไม่มีการไหลของน้ำด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง น้ำจะขังอยู่ในช่องขนาด ≤50 µm มีความดึงวัสดุพื้น 6
                   kPa (0.06 bar)
                                 2) จุดเหี่ยวถาวร คือ ระดับความชื้นที่พืชเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและไม่ฟื้นตัวแม้จะอยู่ในบรรยากาศ
                   ที่ชื้นจัดเป็นเวลาข้ามคืน น้ำจะขังอยู่ในช่องขนาด <0.2 µm มีความดึงวัสดุพื้น 1,500 kPa (15 bar)

                            7.10 ความหนาแน่นรวมของดิน (Bulk density: BD) หมายถึงมวลของดินแห้งต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรรวม
                   ของส่วนที่เป็นของแข็งของดินความหนาแน่นของดินเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของระดับการอัดตัวของอนุภาคของดิน ดิน
                   ที่มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นดินที่มีการอัดตัวแน่นทำให้รากของพืชไม่สามารถชอน
                   ไชได้ง่ายพืชจึงเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ ส่วนดินหยาบมีค่า ความหนาแน่น เท่ากับ 1.20 – 1.80 กรัมต่อลูกบาศก์
                   เซนติเมตร ส่วนดินละเอียด มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.00 – 1.60 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21