Page 15 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           10

                                   3) หาความคล้ายคลึงกันของสูตรปุ๋ยโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม เช่น 1.0-0.5-1.2 คล้ายกับ
                   สูตรปุ๋ยผสมในท้องตลาด 15-7-18 เป็นต้น โดยการเอาข้อมูลสูตรปุ๋ยทั้งหมดในท้องตลาดมาทำการ Training กระตุ้น
                   ให้โครงข่ายประสาทรู้จำในการเลือกสูตรปุ๋ยที่มีอัตราส่วนคล้ายคลึงกันได้

                                   4) หาความคล้ายคลึงกันของสูตรปุ๋ยโดยใช้การเทียบปริมาณเนื้อปุ๋ย โดยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณสูตร
                   ปุ๋ยในท้องตลาดแล้วเลือกสูตรปุ๋ยที่มีความคลาดเคลื่อน (Error) รวมที่น้อยที่สุด
                                   5) คำนวณหาปริมาณเนื้อปุ๋ยที่แท้จริงจากปุ๋ยผสมสำเร็จรูปในท้องตลาด (ปุ๋ยมีส่วนผสม Filler) กับ
                   ปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการ
                          6.2 การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่
                              เป็นการนำข้อมูลชุดดินและข้อมูล N P K ในดินมาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกำหนด
                   ปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืช เป็นการใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดินและค่าวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ยังนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับ

                   การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช เช่น พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ มาสร้างแบบจำลอง
                   ทางคณิตศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี โดยมีขั้นตอนดังนี้
                              ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน  สอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือใช้คู่มือ
                   ตรวจสอบชุดดิน
                              ขั้นที่ 2 ตรวจสอบปริมาณ N P K ในดิน เก็บตัวอย่างดิน และวิเคราะห์ N P K ในดิน โดยใช้ชุด
                   ตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 นาที
                              ขั้นที่ 3 ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ย

                   7. พารามิเตอร์ในการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน
                          7.1 ระดับความเป็นกรดด่างของดิน (pH) หมายถึง ความเป็นกรด (Acidity) หรือความเป็นด่าง (Alkalinity)

                   ของดิน การพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของดินสิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงคือ pH ของดินซึ่งเป็นสมบัติของดินที่อาจ
                   กล่าวได้ว่าเป็นตัวควบคุมระดับปริมาณธาตุอาหารในดินที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีค่าระดับความเป็นกรดด่าง
                   ของดิน
                          7.2 ความเค็มของดิน (Soil salinity) การวัดค่านำไฟฟ้าของดิน เป็นการประเมินปริมาณเกลือที่ละลายได้
                   ของดิน และค่าที่ได้ยังใช้เป็นตัวกำหนดระดับความเค็มของดินด้วย การวัดค่าการนำไฟฟ้าของดินโดยใช้วิธีวัดใน
                   สารละลายของดินกับน้ำ อัตราส่วนระหว่างดินต่อน้ำ อาจแตกต่างกันแล้วแต่ห้องปฏิบัติการแต่ละแห่ง แต่ที่นิยมใช้
                   มักเป็น 1:5 หรือ เรียกว่า EC 1:5 หรือใช้วัดเมื่อทำให้ดินเป็น Saturated Paste แล้ววัดในสารละลายที่สกัดได้

                   เรียกว่า EC extract (EC e) ซึ่งมีค่าความเค็มของดิน
                          7.3 ระดับอินทรียวัตถุในดิน (Organic matter: OM) หมายถึง อินทรียสารทุกชนิดที่มีอยู่ในดิน ซึ่งได้จาก
                   ซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน สิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ สลายตัวทับถมอยู่ในดิน รวมถึง
                   อินทรียสารที่รากพืชปลดปล่อยออกมา และที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ถือว่า
                   เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช เพราะอินทรียวัตถุเมื่อสลายตัว
                   โดยจุลินทรีย์ถึงขั้นสุดท้ายจะได้ฮิวมัส (Humus) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ประกอบเชิงซ้อนที่ประกอบขึ้นจากสารกลุ่มต่างๆ
                   เช่น Methyl phenolic, Quinine และ Carboxylic Groups ที่มีอยู่ในดิน ซึ่งมีค่าระดับอินทรียวัตถุในดิน
                          7.4 ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ของดิน (Nitrogen: N) เป็นธาตุอาหารหลักธาตุหนึ่งที่พืชต้องการ
                   ปริมาณมาก และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะไนโตรเจนช่วยพืชสร้างโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

                   ที่สุด โปรตีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของกรดอะมิโนจำนวนมาก ซึ่งมีธาตุไนโตรเจนเป็น
                   องค์ประกอบที่สำคัญและยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ช่วยเร่งและควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ
                   รวมถึงกระบวนการสังเคราะห์แสง นอกจากนั้นไนโตรเจนยังเป็นองค์ประกอบของวิตามิน (Vitamin) และ
                   Adenosine Triphosphate (ATP) ในพืชอีกด้วย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) ซึ่งมีค่าระดับไนโตรเจนในดิน
                          7.5 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ของดิน (Available Phosphorus) เป็นธาตุอาหารพืชธาตุหนึ่งที่พืช
                   ต้องการเป็นปริมาณมากแต่จะมีอยู่ในดินต่ำมากโดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 0.06 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไนโตรเจนที่มี 0.14
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20