Page 13 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            8

                   ตารางที่ 2  แสดงจุดความร้อนสะสมแยกตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2559


                       เดือน                             การใช้ประโยชน์ที่ดิน                          รวม
                                 ป่าอนุรักษ์  ป่าสงวน   เขต สปก.     พื้นที่   พื้นที่ริม  ชุมชนและ   ทั้งหมด
                                             แห่งชาติ               เกษตร     ทางหลวง      อื่นๆ
                    มกราคม             268        342        210        969        296         183      2,268
                    กุมภาพันธ์       1,096      1,028        497       2,006       660         536      5,823
                    มีนาคม           4,000      2,585        556       1,649       709         805     10,304

                    เมษายน           2,594      3,112        300       1,146       564         431      8,147
                    พฤษภาคม            234        327         68        280        150         101      1,160
                    รวมทั้งหมด       8,192      7,394      1,631      6,050       2,379      2,056     27,702

                   ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2559)



                   4. คาร์บอนในดิน
                          คาร์บอนในดินภายใต้ระบบนิเวศขึ้นอยู่กับความสมดุลของการใช้คาร์บอน โดยการสังเคราะห์แสง การใช้
                   อินทรียวัตถุ และการสูญเสียคาร์บอนจากพืช สัตว์ และการย่อยสลาย การเผาไหม้ การเก็บเกี่ยว และการสูญเสียอื่นๆ
                   ส่วนมากการใช้ระบบนิเวศโดยมนุษย์มักนำไปสู่การลดลงของปริมาณคาร์บอนเมื่อเทียบกับระบบที่ถูกรบกวนน้อย
                   ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนทุ่งหญ้าและป่าไม้ไปทำการเกษตรมักทำให้สูญเสียคาร์บอนที่สะสมบนดินและใต้ดิน และเร่ง
                   การคายน้ำเมื่อเทียบกับการสังเคราะห์แสง เป็นผลให้ปริมาณคาร์บอนที่สะสมลดลงจนอัตราการใช้และการสูญเสีย

                   คาร์บอนกลับมาเท่ากัน ในทางตรงข้ามการเปลี่ยนแปลงการจัดการที่ก่อให้เกิดการใช้มากกว่าการสูญเสียจะทำให้
                   ปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นจนกระทั่งอัตราการสูญเสียเท่ากับอัตราการใช้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนเทียบกับที่
                   ควรจะเพิ่มสามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนการจัดการหรือสภาพแวดล้อมมี 2 วิธีใหญ่ในการเพิ่มปริมาณคาร์บอนคือ
                   การเปลี่ยนการใช้ที่ดินไปสู่การใช้ที่ดินที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าโดยทั่วไป เช่น การเปลี่ยนสิ่งปกคลุม
                   ดิน เช่น การเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นทุ่งหญ้า เป็นต้น และเปลี่ยนการจัดการในพื้นที่โดยไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งปก
                   คลุมดิน เช่น การนำพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นไปปลูกในทุ่งหญ้า ลดการไถพรวนในพื้นที่การเกษตร การฟื้นฟูป่าไม้
                          การเพิ่มขึ้นของอินทรีย์คาร์บอนในดินทำให้เกิดประโยชน์ 2 ประการ คือ ยกระดับคุณสมบัติของดิน และ
                   ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช และคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ
                   เช่น โครงสร้างของดิน ความลึกที่รากสามารถชอนไชลงไปในดินได้ การซึมซาบของน้ำ และปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อ
                   การเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันดินก็จะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่ง

                   เป็นก๊าซเรือนกระจกไปสู่บรรยากาศโดยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การทำเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                   และการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น

                   5. การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิ
                          การประเมินค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากปัจจัยทางการเกษตรต่างๆ เช่น การใส่ปุ๋ย การชลประทาน
                   การศึกษาค่าเฉลี่ยการใช้ปัจจัยทางการเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าการไม่ไถพรวนมีค่าการปลดปล่อย

                   คาร์บอน 13 กิโลกรัมคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ซึ่งน้อยกว่าการไถพรวนของเกษตรกรทั่วไป คือ 168 กิโลกรัมคาร์บอนต่อ
                   เฮกตาร์ ในระยะ 1 ปี ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงจากการไถพรวนจะช่วยเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนและลด
                   การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อันเนื่องมาจากการลดการใช้เชื้อเพลิงและจากปัจจัยการผลิตพืช อย่างไรก็ตาม
                   การประเมินค่าอัตราการปลดปล่อยสามารถนำไปใช้กับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรต่างๆ ได้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18