Page 16 - การทำนายผลผลิตข้าวและข้าวโพดเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง บริเวณพื้นที่สูงลุ่มน้ำแม่แจ่ม Crop Yield Projection at Mae Cham Sub Basin under Extreme Climate Change.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6

                   ในการควบคุมปริมาณค่า CO  ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะท าให้พืช C3 มีความสามารถในการสร้างผลผลิต (Productivity)
                                          2
                   เพิ่มขึ้นด้วย แต่ในพืช C4 อาจเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก (เอ็จ, 2554)

                   4. ภาพจ าลองการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

                          ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศในอนาคตเป็นข้อมูลส าคัญที่ใช้เป็นข้อมูลน าเข้าให้กับ
                   แบบจ าลองภูมิอากาศ ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC

                   (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้พัฒนาภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่

                   โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น จ านวนประชากร เศรษฐกิจ การใช้พลังงาน การใช้ประโยชน์ที่ดิน เทคโนโลยี
                   และนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น เรียกว่า Representative Concentration Pathway หรือ RCP

                   ทั้งสิ้น 4 ภาพฉาย ได้แก่ RCP2.6 RCP4.5 RCP6.0 และ RCP8.5

                          RCP2.6 มีการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้น จึงเป็นวิถีที่แรงบังคับการแผ่รังสีเพิ่มขึ้นจนมีค่าสูงสุด
                   ประมาณ 3.0 วัตต์ต่อตารางเมตร ก่อนปี ค.ศ. 2100 ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศประมาณ

                   490 พันส่วนในล้านส่วนคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และลดลงหลังจากนั้นจนมีค่า 2.6 วัตต์ต่อตารางเมตร
                   หรือค่าความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศประมาณ 475 พันส่วนในล้านส่วนคาร์บอนไดออกไซด์

                   เทียบเท่า โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี ค.ศ. 2010 - 2020 และลดลงภายในปี ค.ศ. 2100

                          RCP4.5 มีการลดก๊าซเรือนกระจกปานกลาง จึงเป็นวิถีที่แรงบังคับการแผ่รังสีเพิ่มขึ้นจนมีค่าเท่ากับ
                   4.5 วัตต์ต่อตารางเมตร ในปี ค.ศ. 2100 และมีค่าคงที่หลังจากปี ค.ศ. 2100 ความเข้มข้นของก๊าซเรือน

                   กระจกในบรรยากาศที่สัมพันธ์กับแรงบังคับการแผ่รังสีในปี ค.ศ. 2100 มีค่าประมาณ 650 ส่วนในล้านส่วน
                   คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี ค.ศ. 2040 และ 2080 และคง

                   อัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 2100 จึงจะเริ่มคงที่และลดลง ตามล าดับ

                          RCP6.0 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปานกลาง จึงเป็นวิถีที่แรงบังคับการแผ่รังสีเพิ่มขึ้นจนมีค่า
                   เท่ากับ 6.0 วัตต์ต่อตารางเมตร ในปี ค.ศ. 2100 และมีค่าคงที่หลังจากปี ค.ศ. 2100 ความเข้มข้นของก๊าซ

                   เรือนกระจกในบรรยากาศที่สัมพันธ์กับแรงบังคับการแผ่รังสีในปี ค.ศ. 2100 มีค่าประมาณ 850 ส่วนในล้าน

                   ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี ค.ศ. 2040 และ 2080
                   และคงอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 2100 จึงจะเริ่มคงที่และลดลง

                   ตามล าดับ

                          RCP8.5 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง จึงเป็นวิถีที่แรงบังคับการแผ่รังสีเพิ่มขึ้นจนมีค่าเท่ากับ 8.5

                   วัตต์ต่อตารางเมตร ในปี ค.ศ. 2100 และยังคงเพิ่มต่อไปหลังจากนั้น ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกใน
                   บรรยากาศที่สัมพันธ์กับแรงบังคับการแผ่รังสีในปี ค.ศ. 2100 มีค่าประมาณ 1,370 ส่วนในล้านส่วน

                   คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ส านักงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                   ของประเทศไทย, ม.ป.ป)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21