Page 18 - การทำนายผลผลิตข้าวและข้าวโพดเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง บริเวณพื้นที่สูงลุ่มน้ำแม่แจ่ม Crop Yield Projection at Mae Cham Sub Basin under Extreme Climate Change.
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคตัวเอง โดยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากแบบจ าลอง
ภูมิอากาศระดับภูมิภาครุ่นที่ 3 ของ Hadley Centre โดยเน้นการพัฒนาไปที่ความสะดวกของการใช้งานและ
การแสดงผลแก่ผู้ใช้ (Simson et al,. 2006)
การจ าลองสภาพอากาศโดยแบบจ าลองเชิงตัวเลข PRECIS ประกอบด้วย
1) ข้อมูลพลศาสตร์ ประกอบด้วยการจ าลองการไหลเวียนของบรรยากาศในทางอุตุนิยมวิทยา
และเทอร์โมไดนามิกของบรรยากาศ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นบริเวณผิวพื้นและการรบกวนการไหลเวียนของ
บรรยากาศเนื่องจากอิทธิพลของความสูงของพื้นที่
2) วัฏจักรของซัลเฟอร์ในบรรยากาศ พิจารณาการกระจายตัวและช่วงชีวิตของผงซัลเฟตใน
บรรยากาศ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความหนาแน่นและปริมาณการปลดปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งจากธรรมชาติ
และมนุษย์
3) เมฆและหยาดน้ าฟ้า พิจารณาการเกิดเมฆก่อตัวทางตั้งและเมฆแผ่นขนาดใหญ่จากผล
ของหยาดน้ าฟ้ารวมถึงปริมาณรังสีที่บรรยากาศได้รับ
4) กระบวนการในการรับและแผ่รังสี ภายในแบบจ าลองจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น
ความหนาแน่น คุณสมบัติของก๊าซในบรรยากาศ ความหนาแน่นของซัลเฟต ฝุ่นควันแขวนลอยในบรรยากาศ เมฆ
การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณรังสีที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาของปี
5) คุณสมบัติของพื้นดิน พิจารณาถึงการปกคลุมดินในแง่ผลกระทบต่อการไหลเวียนของ
อากาศ การรับพลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ หยาดน้ าฟ้า การปลดปล่อยพลังงานความร้อนและความชื้นกลับสู่
บรรยากาศ การไหลบ่าของน้ าที่เกิดจากฝน อุณหภูมิตามความลึกของดิน ความสามารถในการรองรับและการ
ดูดซึมน้ า
เงื่อนไขบริเวณขอบเขตของการค านวณ แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
1) ขอบเขตบนพื้นผิวของการค านวณ ต้องการข้อมูลน าเข้าเฉพาะในบริเวณที่ปกคลุมด้วยน้ า
เท่านั้น โดยปัจจัยที่ต้องการ ได้แก่ อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวและการปกคลุมของน้ าแข็งตลอดช่วงเวลาที่ท าการ
ค านวณด้วยแบบจ าลอง
2) ขอบเขตด้านข้างของการค านวณ ต้องการข้อมูลทางพลศาสตร์ของบรรยากาศที่ขอบของ
การค านวณ ประกอบด้วยข้อมูล ความกดอากาศที่ผิวพื้น ลม อุณหภูมิ ความชื้นและข้อมูลทางเคมีของ
บรรยากาศ ส าหรับขอบเขตด้านบนของการค านวณต้องการเพียงข้อมูลปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์เท่านั้น
(ศุภกร และคณะ, 2553)
6. แบบจ าลอง AquaCrop
AquaCrop หรือ Crop Water Productivity Model เป็นแบบจ าลองการเพาะปลูกพืชที่ถูกพัฒนาขึ้น
โดย FAO ในปี ค.ศ. 2012 สามารถจ าลองสถานการณ์การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตพืช โดยเฉพาะพืชที่
มีลักษณะล าต้นอวบน้ า (Herbaceous crops) เช่น ข้าว ข้าวโพด แบบจ าลอง AquaCrop สามารถจ าลอง
สมดุลของคาร์บอน ธาตุอาหาร การใช้น้ าของพืชและการตอบสนองของพืชต่อการขาดน้ า โดยอาศัยสมการ
ทางคณิตศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีระวิทยาของพืชกับปัจจัยต่าง ๆ ดังภาพที่ 5