Page 18 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6

                   บนพื้นที่นั้น ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่ ชั้นของไม้ยืนต้น (tree layer) ชั้นของพุ่มไม้ (shrub layer) ชั้นของพืช

                   ล้มลุก (herb layer) และชั้นของหญ้า (grass layer) โดยมีความผันแปรไปตามพื้นที่ (space) และเวลา
                   (time) (ศุภชาติ, 2545)

                          ช่วงควบคุมความชื้นดิน (Soil moisture control section) คือ ช่วงความหนาของดินในหน้าตัดที่มี
                   ปริมาณความชื้นหรือน้ าในดินที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงน้อยกว่า 1,500 กิโลพาสคัล (kPa) ในระดับความลึกต่างๆ
                   จากผิวดินตามชั้นขนาดอนุภาคดิน (particle size class) ที่ก าหนดเป็นมาตรฐานของการจ าแนกในระบบ

                   อนุกรมวิธานดิน มี 3 ชนิด (คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541)

                          1. ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคร่วนละเอียด (fine-loamy) ทรายแป้งหยาบ (coarse-silty) ทรายแป้ง
                   ละเอียด (fine-silty) และดินเหนียว (clayey) ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 10–30 เซนติเมตร

                          2. ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคร่วนหยาบ (coarse-loamy) ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 20–60
                   เซนติเมตร

                          3. ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคทราย (sandy) ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 30–90 เซนติเมตร

                          ความถี่ของการให้น้ า (จ านวนวันต่อครั้ง) ควรพิจารณาจากชนิดของดินซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถ
                   ในการซึมน้ าของดิน โดยปริมาณน้ าที่ให้ในแต่ละครั้งควรซึมลงไปในดินทั้งหมด ถ้าให้มากเกินจนไหลออกนอก

                   แปลงจะเป็นการสูญเสียน้ าไปโดยเปล่าประโยชน์และในช่วงวันท้าย ๆ ก่อนการให้น้ าอีกครั้งพืชอาจเกิดการ
                   ขาดน้ าได้ ซึ่งระบบชลประทานในปัจจุบันเกษตรกรมีความสะดวกมากขึ้นท าให้สามารถให้น้ าในปริมาณที่น้อย
                   แต่บ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งลดปัญหาการให้น้ ามากเกินความต้องการของพืชและความสามารถซึมน้ าของดินและ

                   สามารถประกันได้ว่าตลอดช่วงที่พืชต้องการน้ าจะไม่มีการขาดน้ าเกิดขึ้น (สุภัทร์, 2555)
                   3. การจัดการเรื่องน ้า (ส านักงาน กปร., 2555)

                          การจัดการเรื่องน้ าในพื้นที่ที่ไม่มีน้ าชลประทาน จะต้องมีการจัดการน้ าในพื้นที่ โดยการป้องกันการ
                   ระเหยของน้ า เช่น การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดินเพื่อเก็บน้ าฝนลงในดิน ให้ดินเป็นที่เก็บน้ า ท าคัน
                   ดินชะลอการไหลของน้ า ท าคันคูรับน้ าเพื่อรวบรวมน้ าลงในบ่อ ซึ่งระบบน้ าที่เหมาะสมในการให้น้ าต้องเป็น

                   แบบให้น้ าน้อยแต่บ่อยครั้ง เช่น ระบบสปริงเกอร์
                          การจัดการเฉพาะจุด เป็นการปรับปรุงพื้นที่เร่งด่วนเฉพาะพื้นที่ เช่น บริเวณหลุมปลูก ควรมีการใช้

                   ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก รองก้นหลุมเพื่อให้ดินมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหาร อุ้มน้ าได้มากขึ้น เร่งการ
                   เจริญเติบโตของพืชในระยะแรก ท าให้พืชแข็งแรง มีรากหยั่งลึก หาอาหารได้มากขึ้น

                          อินทรียวัตถุในดินเป็นปัจจัยส าคัญในการควบคุม และก าหนดสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ
                   ของดิน เช่น การปลดปล่อยธาตุอาหารหลักของพืชในดิน ช่วยให้ดินเกาะตัวกันเป็นโครงสร้าง ช่วยเพิ่มการดูด
                   ยึดน้ าในดิน ช่วยเพิ่มการระบายอากาศ การลดอัตราการชะล้างพังทลาย รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมของ

                   จุลินทรีย์ดิน (สรสิทธิ์, 2535)ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสามารถ
                   ในการให้ผลผลิตของดิน รวมทั้งการพัฒนาระบบนิเวศของแต่ละสภาพแวดล้อมโดยตรง (คณาจารย์ภาควิชา
                   ปฐพีวิทยา, 2541) อินทรียวัตถุเป็นสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของสารอินทรีย์ซึ่งอยู่ในหลายขั้นตอน เมื่อ

                   ย่อยสลายถึงขั้นสุดท้ายจนได้สารฮิวมัส ซึ่งเป็นสารที่เสถียรพื้นผิวสัมผัสสูง สามารถดูดซับน้ าได้ดี มี
                   ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง อินทรียวัตถุมีความส าคัญมากเพราะเป็นตัวควบคุม
                   องค์ประกอบอื่น ๆ ของดินทั้งทางตรงและทางอ้อมให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชให้แร่ธาตุ
                   อาหารแก่พืช อินทรียวัตถุเมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาสะสมอยู่ในดิน ช่วยท าให้จุลินทรีย์

                   ในดินท างานได้ดีขึ้น ช่วยให้พืชมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทาง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23